6 พ.ย. 2565
ลุ่มแม่น้ำปัตตานีจะมีลักษณะเป็นแนวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ โดยที่ทิศเหนือจะติดกับอ่าวไทย ที่ปากแม่น้ำปัตตานี ทิศใต้จะติดกับประเทศมาเลเซีย มีแม่น้ำปัตตานีเป็นลำน้ำสายหลัก และแม่น้ำยะหาเป็นลำน้ำสาขา ในช่วงปลายมีคลองหนองจิก แยกออกจากแม่น้ำปัตตานีและยังคลองเล็กๆ อีกมากมาย ลุ่มแม่น้ำปัตตานีมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาสันกาลาคีรี อ.เบตง จ.ยะลา ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทิศเหนือ แล้วไหลลงอ่าวไทย ที่ อ.เมือง จ.ปัตตานี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่ราบเรียบเล็กน้อย ทางตอนล่างของลุ่มน้ำเป็นที่ราบลุ่ม มีความยาวประมาณ 210 กิโลเมตร
31 ต.ค. 2565
ลุ่มน้ำสายบุรี มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ ได้รับการขนานนามมาแต่โบราณนับพันปีแล้วว่า “แม่น้ำทองคำ” มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหมืองแร่ทองคำ และความอุดมสมบูรณ์อันแสนพิเศษของลุ่มน้ำสายบุรี มีเทือกเขาสลับซับซ้อน ชุ่มชื้น และแหล่งเกิดน้ำ นา ป่าพรุ
3 ต.ค. 2565
ดอกไม้เมืองหนาวหลากหลายพันธุ์ภายในสวนหมื่นบุปผา ในโครงการไม้ดอกเมืองหนาว ต.ตะเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา ถูกปลูกขึ้นและดูแลเป็นอย่างดี ท่ามกลางบรรยากาศที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและสายหมอก กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อในอำเภอเบตง ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต่างมาพักผ่อนในช่วงสุดสัปดาห์ เบตงได้ชื่อว่ามี 3 ฤดูในวันเดียวกัน คือหนาวเย็น แดดจ้า และฝนตก
28 ก.ย. 2565
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ตั้งอยู่ที่ ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง และสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นที่จะนำพาจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่สันติสุขอย่างยั่งยืน ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์ต้นแบบที่ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"
11 ก.ย. 2565
ข้าวไทยและพันธุกรรมมีความสำคัญในแง่เดียวกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี คนไทยปลูกข้าวพื้นเมือง เพราะชอบรับประทาน จึงคัดเลือกพันธุ์ที่รสชาติดี อร่อย ข้าวพื้นเมืองยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของพื้นที่ และบางสายพันธุ์ยังมีคุณค่าโภชนาการที่มากกว่าข้าวทั่วไป ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ซึ่งอาจมียีนส์ต้านทานโรค ทนแล้ง ทนเค็ม หรือ ทนน้ำท่วม ลักษณะพันธุกรรมเหล่านี้สำคัญต่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวไทย
30 ส.ค. 2565
“...ให้ตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถขึ้น เพื่อทำหน้าที่ให้การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา การปลูกพืชเขตหนาวชนิดต่าง ๆ ลดการใช้สารเคมี การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนพื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้มีความอุดมสมบูรณ์...”
28 ส.ค. 2565
ในพื้นที่บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ริมเทือกเขาสันกาลาคีรี ที่วิถีชีวิตมีความพิเศษที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น นั่นคือการผลิตกาแฟโบราณขึ้นมาดื่มเอง โดยนำความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ภายใต้โอบกอดของเทือกเขาสันกาลาคีรี มาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จนกลายเป็นที่มาของกาแฟโบราณบ้านแหร
28 ส.ค. 2565
นับย้อนกลับไปกว่า 60 ปีมาแล้ว ชาวบ้านนิยมปลูกไร่กาแฟ ก่อนจะมีสวนทุเรียนและสวนยางพารา ตอนนั้นชาวบ้านหันไปปลูกยางพารากันเนื่องจากราคาจูงใจ แต่ในที่สุดก็ถึงทางตัน เมื่อรายได้จากการกรีดน้ำยางไม่ดีเหมือนแต่ก่อน กาแฟยะลาจึงได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังอีกครั้ง ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจึงเกิดขึ้น เกษตรกรหันกลับมาหากาแฟพืชเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้
21 ส.ค. 2565
การสร้างชุมชนเข้มแข็งเป็นหนึ่งในนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากความเข้มแข็งของ กองกำลังภาคประชาชนในการป้องกันตนเองแล้ว ความเข้มแข็งจากภายในอันเกิดความมีคุณธรรม ที่ประชาชนยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด แนวคิดเรื่อง “กำปงตักวา” เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2550 และได้เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2556 ที่มัสยิดบ้านเหนือ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมถึงที่อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี และที่บ้านกาสัง จ.ยะลา ซึ่งได้จัดตั้ง คณะทำงานพร้อมจัดทำแผนงานที่มีชื่อว่า “แผนการสนับสนุนผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา” เป็นแนวทางหนึ่งที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. นำมาขับเคลื่อนเพื่อจัดตั้ง “กำปงตักวา”
19 ส.ค. 2565
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แต่เดิมเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ประชาชนมีความเป็นอยู่ แบบสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิม ทำนาปลูกข้าวและหาอาหารตามป่าตามลุ่มน้ำ พวกที่อยู่ตามชายทะเลก็มีอาชีพประมง ได้มากจนเหลือนำไปแลกเปลี่ยนเป็นข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือนได้ ไม่มีใครต้องอยู่ในภาวะอดอยากยากแค้นเลย
16 ส.ค. 2565
“...มีรับสั่งให้ผู้อำนวยการโครงการหลวง จัดเจ้าหน้าที่เดินทางไปสำรวจสภาพพื้นที่หมู่บ้านม่อนเงาะ ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือชาวเขาเผ่าแม้วที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และได้ตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่นและพืชไร่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน...”
7 ส.ค. 2565
ราษฎรบนพื้นที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องประสบปัญหาเกี่ยวการเพาะปลูก เนื่องจากดินมีคุณภาพต่ำไม่อุ้มน้ำ แถมยังมีความเค็ม ฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล แหล่งน้ำธรรมชาติก็มีไม่มากนัก ท่ามกลางความแห้งแล้งกันดาร ได้มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น นับจากพระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลอง ค้นหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม กับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิต ตามหลักภูมิสังคม
4 ส.ค. 2565
จากความยากจนความคับแค้นทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ชาวบ้านครอบครัวหนึ่ง ในพื้นที่หมู่บ้านป่าบอน ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา ได้หาทางออกให้กับการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ให้กับครอบครัวของตนเอง โดยเริ่มต้นจากการไปเรียนรู้แนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พวกเขาฝึกลดรายจ่าย หาทางเพิ่มรายได้ และใฝ่เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้เห็นว่าความต้องการด้านอาหารเป็นความต้องการที่สำคัญของทุกชีวิต ทั้งนี้ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา มีการเลี้ยงปลาโดยวิธีธรรมชาติ และแบบบ่อเลี้ยงอยู่ ผลผลิตในบางครั้งไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค และหลายครั้งก็มีมากเกินกว่าจะบริโภคได้ทัน จากแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา จึงทำให้เขาคิดว่าหากมีการนำปลาสดที่เหลือ มาถนอมไว้ จะทำให้มีอาหาร ปลาบริโภคในหมู่บ้านได้ตลอดทั้งปี
2 ส.ค. 2565
“...ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ จำนวน 300,000 บาท สำหรับการก่อตั้งโครงการหลวงป่าเมี่ยง ในพื้นที่บ้านปางบง ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการทำสวนเมี่ยงที่มีราคาตกต่ำ...”
25 ก.ค. 2565
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนมีความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของยาเสพติด จำนวนมาก แม้ทางราชการจะพยายามให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดมากเพียงใด แต่ก็ยังไม่สามารถลดขนาดของปัญหาให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ทั้งนี้เพราะเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความใกล้ชิดและต่อเนื่องในระดับพื้นที่ ให้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างจริงใจ
19 ก.ค. 2565
“...ให้กรมชลประทานพิจารณาจัดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้กับราษฎรชาวไทยภูเขา หมู่บ้านปางอุ๋ง โดยจัดโครงการชลประทานจากลำห้วยปางเกี๊ยะ และห้วยแม่หยอด เพื่อส่งน้ำให้หมู่บ้านปางอุ๋ง และหมู่บ้านใกล้เคียง ทรงแนะนำเรื่องอาชีพปลูกพืชชนิดใหม่เป็นรายได้ทดแทนฝิ่น...”
18 ก.ค. 2565
ที่นี่เป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบที่สามารถพึ่งพาตนเอง ตามแบบวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เริ่มจากมีการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น น้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภคในครัวเรือน การบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร การลดรายจ่าย ในครัวเรือน ไปสู่การรวมกลุ่มผลิตเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ ส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย เช่น พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงและการปศุสัตว์
10 ก.ค. 2565
จากการสำรวจความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรใน จ.นราธิวาส เพื่อรองรับการดำเนินงานในโครงการฟื้นฟูนาร้าง เพื่อการปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี ในปี พ.ศ.2551 พบว่าข้าวพันธุ์หอมกระดังงาเป็นพันธุ์ข้าว ที่เกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์เพื่อนำมาปลูกมากที่สุด ข้าวหอมกระดังงาเป็นพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นเมืองที่มีการปลูกในจังหวัดนราธิวาสมาอย่างยาวนาน พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอตากใบ โดยจุดเด่นของข้าวพันธุ์นี้ จะมีกลิ่นหอมคล้ายดอกกระดังงา ตั้งแต่ออกรวงจนกระทั่งนำไปหุง เมล็ดข้าวมีสีน้ำตาลเข้ม ข้าวกล้องมีสีแดงและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ปริมาณโปรตีน ธาตุเหล็ก และสารต้านอนุมูลอิสระมากในข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอกมีปริมาณไขมัน สังกะสี แคลเซียม สาร GABA และสารกลุ่มวิตามินอีกมากมาย เป็นที่นิยมของกลุ่มผู้บริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ
4 ก.ค. 2565
“...ให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง เพื่อแก้ปัญหาการปลูกพืชเสพติด โดยให้โครงการหลวงพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรกลุ่มบ้านห้วยตอง... ”
4 ก.ค. 2565
ความเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลกระทบมาจากปัญหาทางด้านสังคม และการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลก็มีการกำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนมาโดยตลอด ปัญหาที่สำคัญมากที่สุดคือ เมื่อประชาชนว่างงาน ยากจน ก็มักมีโครงการฝึกอาชีพหรือส่งเสริมกิจกรรมให้กับคนที่ไม่มีความพร้อม การลงทุนของรัฐจึงมักสูญเปล่า จากการแก้ปัญหาที่ผ่านมา เพื่อเป็นการแก้ปัญหาและเสริมช่องว่างดังกล่าว จึงได้มีประชาชนจิตอาสารวมตัวกันเพื่อคิดแก้ไข ปัญหานี้ร่วมกับทางราชการ โดยให้ราชการหนุนการทำงานของพวกเขา
16 มิ.ย. 2565
“….ทรงรับสั่งให้โครงการหลวงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาโดยกรมพัฒนาที่ดินและกรมชลประทานได้ดำเนินการสำรวจจัดสรรพื้นที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร และพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาไม่มีที่ดินทำกินและขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ป่าทุ่งอีเริง...”
15 มิ.ย. 2565
จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การแก้ปัญหาในพื้นที่ ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการแก้ปัญหาอย่างเฉพาะจุด จึงทำให้ภาครัฐที่เข้ามาทำหน้าที่แก้ไขปัญหา ต้องใช้ความรู้ความสามารถ และใช้ต้นทุนของทรัพยากรบุคคลในพื้นที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน
8 มิ.ย. 2565
จากปัญหายาเสพติดสู่การรวมตัวกันของจิตอาสาประชาสังคมที่เรียกว่า “จิตอาสาญาลันนันบารู” จากผลการสำรวจปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการให้รัฐช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วนมากที่สุด ที่สำคัญมี 2 ด้าน คือปัญหายาเสพติด และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอด ครอบครัวใดที่มีปัญหา ยาเสพติดก็จะทำให้มีปัญหาความยากจนตามมา ครอบครัวใดที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจก็มักจะส่งผลให้เกิดปัญหายาเสพติด ด้วยเสมอ ทำให้เกิดความยากจนซ้ำซากวนเวียนอยู่ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่สิ้นสุด
6 มิ.ย. 2565
นับแต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระองค์ทรงดำรงไว้ซึ่ง ธรรมทั้งปวงและทรงเปรียบประดุจแสงชัชวาลที่สาดส่อง นำการพัฒนาประเทศ ให้มั่นคงยั่งยืนมาเป็นเวลาอันยาวนาน ด้วยพระปณิธานอันแกร่งกล้าที่จะทรงเสียสละประโยชน์ส่วนพระองค์ เพื่อพสกนิกรชาวไทย และทรงถือว่าทุกข์ของพสกนิกร คือ ทุกข์ของพระองค์ ดั่งพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
2 มิ.ย. 2565
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดจำนวนมาก เนื่องด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะเยาวชนมีการศึกษาน้อย ว่างงาน ยากจน ไม่เคร่งครัดในศาสนา และมีค่านิยมแนวใหม่เกิดขึ้น ทำให้ไม่มีเป้าหมายในชีวิต เป็นเหตุให้ใช้ยาเสพติดมากขึ้น นับเป็นภัยซ้ำเติมให้พ่อแม่ต้องได้รับความเดือดร้อนอัตคัดคับแค้นหนักยิ่งขึ้น แม้บำบัดหายแล้วก็กลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดิมที่ยังมีปัญหาการแพร่ระบาด ก็มักหวนกลับไปเสพซ้ำอีก
1 มิ.ย. 2565
“….ให้หาพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีให้แก่ชุมชนบ้านช่างเคี่ยน เนื่องจากทรงสนพระทัยงานของฟาร์มฟูซูซานของหน่วยทหารผ่านศึกของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เพราะเป็นพื้นที่ที่ตั้งบนภูเขาแบบเดียวกับพื้นที่โครงการหลวง โดยขณะนั้นได้พื้นที่ป่าสะเมิง (บ้านป่าเลา) ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา...”
25 พ.ค. 2565
ปราชญ์ หมายถึง ความรู้ นักปราชญ์ก็คือผู้ที่รักในความรู้ ความรู้ที่ยกย่องกันก็มี 2 แบบ คือ ความรู้แบบแนวราบกับแนวดิ่ง - แนวราบ ก็คือ รู้ทุกเรื่อง แต่อาจจะไม่รู้ลึก - แนวดิ่ง คือ ความรู้เจาะลึกเป็นเรื่องๆ
19 พ.ค. 2565
“….ให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก จ.เชียงใหม่ขึ้น โดยทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนดำเนินงาน เพื่อกเป็นศูนย์พัฒนาสาธิตและส่งเสริมการเพาะเห็ดหอมและกาแฟ เป็นอาชีพเสริมให้ราษฎรในพื้นที่ นอกเหนือจากอาชีพการปลูกเมี่ยง...”