บทความล่าสุด

ในปี 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อเยี่ยมราษฎรที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ทรงทอดพระเนตรเห็นหมู่บ้านในหุบเขา มีแต่ความแห้งแล้ง ดอยอ่างขางในเวลานั้นเป็นภูเขาหัวโล้น ชาวเขาปลูกฝิ่น ตัดไม้ทำลายป่า และยากจน

ที่ดินบริเวณโครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 เดิมมีสภาพเป็นที่ลุ่ม ในช่วงฤดูแล้งมักขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตรและอุปโภคบริโภค ที่ดินมีสภาพกร้าง มีต้นหญ้าและวัชพืชขึ้นอยู่เต็มพื้นที่สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างมาก

เดิมพื้นที่หมู่บ้านม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีชาวเขาเผ่าแม้วอาศัยอยู่ในพื้นที่ ได้ตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น มีความเป็นอยู่ที่ยากจน ต่อมาในปี 2527 ได้มีตัวแทนของชาวบ้าน ส่งหนังสือขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานราชการ มูลนิธิโครงการหลวงจึงเข้าไปสำรวจพื้นที่ และได้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะขึ้นในปี 2528

เมื่อปี 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร สภาพพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำคลองน้ำจืด คลองแฆแฆ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงตระหนักถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น การทำไร่เลื่อนลอย การปลูกฝิ่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ปัญหายาเสพติด

เมื่อปี 2533 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริ แก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน และเจ้าหน้าที่สำนักงาน กปร. ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยตะเพิน จังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี

เมื่อปี 2523 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ จำนวน 80,000 บาท เพื่อนำไปเริ่มงานทดลองขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลในหมู่บ้านที่บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในจังหวัดระยอง-ชลบุรี เนื่องจากสภาพพื้นที่เดิมเป็นป่าที่ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำให้ประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำ รายได้ลดลง

อนิเมชั่น โครงการพระราชดำริ

ราษฎรบนพื้นที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องประสบปัญหาเกี่ยวการเพาะปลูก เนื่องจากดินมีคุณภาพต่ำไม่อุ้มน้ำ แถมยังมีความเค็ม ฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล แหล่งน้ำธรรมชาติก็มีไม่มากนัก ท่ามกลางความแห้งแล้งกันดาร ได้มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น นับจากพระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลอง ค้นหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม กับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิต ตามหลักภูมิสังคม

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จประพาสทางภาคเหนือ พระองค์ทอดพระเนตรการปลูกฝิ่น การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอย และ ความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของราษฎรชาวไทยภูเขา จึงมีพระราชดาริให้ริเริ่มโครงการหลวง เพื่อสร้างอาชีพให้กับกลุ่มชาวไร่และชาวเขา ส่งเสริมให้ปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาว ทดแทนการปลูกฝิ่น ไม่ว่าจะเป็นพีช ท้อ บ๊วย และสตอเบอรี่ ที่ให้ราคาสูง อันส่งผลให้ปัญหายาเสพติด ภัยแล้ง และความยากจนของราษฎร ค่อยบรรเทาลง

เมื่อปี 2552 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประทับที่พระราชวังไกลกังวล มีราษฎรนำหัวมันมาถวาย พระองค์ท่านได้ทรงนำหัวมันวางบนตราชั่งโบราณในห้องทรงงาน บนพระตำหนักเปี่ยมสุข ก่อนเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร และเมื่อเสด็จกลับมาพระราชวังไกลกังวล ทรงพบว่าหัวมันที่วางอยู่บนตราชั่งนั้น มีรากและใบอ่อนงอกขึ้นจากหัวมัน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญกับงานสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้ว่าโครงการที่พระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ เป็นการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้างสถานบริการสาธารณสุข และระยะต่อมาเป็นโครงการพัฒนาสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชน โดยในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรแต่ละครั้ง พระองค์ได้โปรดฯให้คณะแพทย์ในขบวนเสด็จ ทำการตรวจรักษาราษฎร และทรงพบว่าราษฎรจำนวนมากขาดการดูแลรักษาในด้านสุขภาพอนามัย โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๑๐ ต่อมาโครงการพระราชดำริด้านการแพทย์ จึงได้ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง

จากการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะเห็นประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเฉพาะเกษตรกรรม ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของประเทศ จึงทำให้เกิด “โครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร สวนจิตรลดา” ภายในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในปี2504 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ทดลองและวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรต่างๆ แล้วนำผลการศึกษามาประยุกต์ใช้เป็นแบบอย่างในการนำไปปฏิบัติตาม

มีคนอีกเป็นจำนวนมาก ที่ขาดโอกาสทางด้านการศึกษา เรื่องทุนทรัพย์อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาได้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้ง ถึงเหตุที่ทำให้ราษฎรจำนวนไม่น้อย ยากไร้ ขาดโอกาสเล่าเรียน ไม่มีอาชีพ ไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ ทรงให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษา และทรงรำลึกถึงวิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาของครูบาอาจารย์ในโบราณกาล เช่นพระดาบส

จากการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงทราบถึงปัญหาและความเดือนร้อนของเหล่าพสกนิกรชาวเกษตรกร ที่มีอยู่มากมาย จึงได้พระราชทานแนวคิดทฤษฎีใหม่ เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองได้

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเล็งเห็ทุกข์สุขของประชาชน จึงก่อให้เกิดโครงการสะพานภูมิพล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อคลี่คลายปัญหาจราจร ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และมุ่งอำนวยความสะดวกให้เป็นเส้นทางขนส่งเชื่อมโยงย่านอุตสาหกรรม เพื่อให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ไม่ต้องวิ่งเข้าไปในตัวเมือง ช่วยลดการจราจรติดขัด

อนิเมชั่น เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

ลุ่มแม่น้ำปัตตานีจะมีลักษณะเป็นแนวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ โดยที่ทิศเหนือจะติดกับอ่าวไทย ที่ปากแม่น้ำปัตตานี ทิศใต้จะติดกับประเทศมาเลเซีย มีแม่น้ำปัตตานีเป็นลำน้ำสายหลัก และแม่น้ำยะหาเป็นลำน้ำสาขา ในช่วงปลายมีคลองหนองจิก แยกออกจากแม่น้ำปัตตานีและยังคลองเล็กๆ อีกมากมาย ลุ่มแม่น้ำปัตตานีมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาสันกาลาคีรี อ.เบตง จ.ยะลา ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทิศเหนือ แล้วไหลลงอ่าวไทย ที่ อ.เมือง จ.ปัตตานี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่ราบเรียบเล็กน้อย ทางตอนล่างของลุ่มน้ำเป็นที่ราบลุ่ม มีความยาวประมาณ 210 กิโลเมตร

ลุ่มน้ำสายบุรี มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ ได้รับการขนานนามมาแต่โบราณนับพันปีแล้วว่า “แม่น้ำทองคำ” มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหมืองแร่ทองคำ และความอุดมสมบูรณ์อันแสนพิเศษของลุ่มน้ำสายบุรี มีเทือกเขาสลับซับซ้อน ชุ่มชื้น และแหล่งเกิดน้ำ นา ป่าพรุ

ดอกไม้เมืองหนาวหลากหลายพันธุ์ภายในสวนหมื่นบุปผา ในโครงการไม้ดอกเมืองหนาว ต.ตะเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา ถูกปลูกขึ้นและดูแลเป็นอย่างดี ท่ามกลางบรรยากาศที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและสายหมอก กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อในอำเภอเบตง ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต่างมาพักผ่อนในช่วงสุดสัปดาห์ เบตงได้ชื่อว่ามี 3 ฤดูในวันเดียวกัน คือหนาวเย็น แดดจ้า และฝนตก

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ตั้งอยู่ที่ ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง และสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นที่จะนำพาจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่สันติสุขอย่างยั่งยืน ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์ต้นแบบที่ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

ข้าวไทยและพันธุกรรมมีความสำคัญในแง่เดียวกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี คนไทยปลูกข้าวพื้นเมือง เพราะชอบรับประทาน จึงคัดเลือกพันธุ์ที่รสชาติดี อร่อย ข้าวพื้นเมืองยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของพื้นที่ และบางสายพันธุ์ยังมีคุณค่าโภชนาการที่มากกว่าข้าวทั่วไป ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ซึ่งอาจมียีนส์ต้านทานโรค ทนแล้ง ทนเค็ม หรือ ทนน้ำท่วม ลักษณะพันธุกรรมเหล่านี้สำคัญต่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวไทย

ในพื้นที่บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ริมเทือกเขาสันกาลาคีรี ที่วิถีชีวิตมีความพิเศษที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น นั่นคือการผลิตกาแฟโบราณขึ้นมาดื่มเอง โดยนำความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ภายใต้โอบกอดของเทือกเขาสันกาลาคีรี มาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จนกลายเป็นที่มาของกาแฟโบราณบ้านแหร

นับย้อนกลับไปกว่า 60 ปีมาแล้ว ชาวบ้านนิยมปลูกไร่กาแฟ ก่อนจะมีสวนทุเรียนและสวนยางพารา ตอนนั้นชาวบ้านหันไปปลูกยางพารากันเนื่องจากราคาจูงใจ แต่ในที่สุดก็ถึงทางตัน เมื่อรายได้จากการกรีดน้ำยางไม่ดีเหมือนแต่ก่อน กาแฟยะลาจึงได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังอีกครั้ง ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจึงเกิดขึ้น เกษตรกรหันกลับมาหากาแฟพืชเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้

การสร้างชุมชนเข้มแข็งเป็นหนึ่งในนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากความเข้มแข็งของ กองกำลังภาคประชาชนในการป้องกันตนเองแล้ว ความเข้มแข็งจากภายในอันเกิดความมีคุณธรรม ที่ประชาชนยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด แนวคิดเรื่อง “กำปงตักวา” เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2550 และได้เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2556 ที่มัสยิดบ้านเหนือ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมถึงที่อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี และที่บ้านกาสัง จ.ยะลา ซึ่งได้จัดตั้ง คณะทำงานพร้อมจัดทำแผนงานที่มีชื่อว่า “แผนการสนับสนุนผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา” เป็นแนวทางหนึ่งที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. นำมาขับเคลื่อนเพื่อจัดตั้ง “กำปงตักวา”

   เว็ปไซต์พอเพียง เรามุ่งมั่นที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ไม่ว่าในด้านการเป็นศูนย์ข้อมูล แหล่งความรู้ศาสตร์พระราชา  แนวทางการทำมาหากินในช่วงวิกฤติ โดยในช่วงวิกฤติโควิดนี้ เราได้มีการจัดกิจกรรม Facebook LIVE "ของขวัญจากพ่อ"  เชิญติดตามชมรายการย้อนหลังได้ที่นี่..
EP.1 ตอน "ความพอเพียงในยุคโควิด"

โดย วิทยากร รับเชิญ
✫ คุณโจน จันได ..ปราชญ์ของแผ่นดิน..
✫ ดร.เมธา หริมเทพาธิป ..เลขาธิการมูลนิธิสหธรรมิกชน..
유 ดำเนินรายการโดย : พันโทหญิง อัจฉราวรรณ ทองนาค
EP.2 ตอน "หลักการทรงงาน ๒๗ ประการ ที่พสกนิกรสามารถประยุกต์ใช้ได้ ในยุคโควิด"

โดย วิทยากร รับเชิญ
✫ คุณสมศักดิ์ เพิ่มเกษร ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงาน กปร.
✫ ดร.เมธา หริมเทพาธิป เลขาธิการมูลนิธิสหธรรมิกชน
유 ดำเนินรายการโดย : พันโทหญิง อัจฉราวรรณ ทองนาค
EP.3 ตอน "เศรษฐกิจพอเพียงในยุคโควิด"

โดย วิทยากร รับเชิญ
✫ คุณอุศนีย์ ธูปทอง : รองเลขาธิการ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงาน กปร.
✫ คุณธิติชัย ปรีชา : ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาสังคม
✫ ดร.เมธา หริมเทพาธิป : เลขาธิการมูลนิธิสหธรรมิกชน
유 ดำเนินรายการโดย : พันโทหญิง อัจฉราวรรณ ทองนาค
EP.4 ตอน "ศาสตร์พระราชา ใน 4 ภูมิภาค"

โดย วิทยากร รับเชิญ
✫ อาจารย์ ปัญญา ปุลิเวคินทร์ ผอ.ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก
✫ ดร.เมธา หริมเทพาธิป : เลขาธิการมูลนิธิสหธรรมิกชน
유 ดำเนินรายการโดย : พันโทหญิง อัจฉราวรรณ ทองนาค

หลักการทรงงาน 27 ประการ

ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกันอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพราะเห็นว่าหากคนไทยทุกคนได้ร่วมมือกันช่วยชาติ พัฒนาชาติด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกันแล้ว ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าอย่างมาก

การอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนพึงมีพึงปฏิบัติให้เป็นปกติวิสัยซึ่งทำให้สังคมมีความสมานสมานฉันท์ ทรงปฏิบัติให้เห็นมาโดยตลอด ทรงอ่อนน้อมมาก เวลาที่เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎร ทรงโน้มพระวรกายไปหาประชาชน คุกเข่าหน้าประชาชน ถามทุกข์สุข ปรึกษาหารือเป็นชั่วโมงๆ ประชาชนนั่งพับเพียบ พระองค์ท่านก็ทรงทรุดพระวรกายนั่งพับเพียบบนพื้นเดียวกัน

ความเพียรเป็นคุณสมบัติที่จะทำให้งานสำเร็จ ต้องมีความมุ่งมั่น โดยเฉพาะการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทรงปฏิบัติให้เห็นโดยทรงเรือใบจากวังไกลกังวลข้ามอ่าวไทยขึ้นฝั่งที่สัตหีบ ทรงใช้เวลาเดินทาง ๑๗ ชั่วโมงบนเรือขนาดยาวเพียง ๑๓ ฟุต ลำเรือแคบ ๆ ทรงแสดงให้เห็นถึงการใช้ความเพียรในการทำงานให้สำเร็จ

“รู้ รัก สามัคคี” เป็นพระราชดำรัส ที่มีค่าและมีความหมายลึกซึ้ง พร้อมทั้งสามารถปรับใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

โครงการพระราชดำริ

แนวพระราชดำริแกล้งดิน มาจากการเลียนแบบสภาพธรรมชาติของพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีฤดูแล้ง 4 เดือน ฤดูฝน 8 เดือน การทดลองใช้วิธีร่นระยเวลาช่วงแล้งและช่วงฝนในรอบปีให้สิ้นลง ปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน ปีหนึ่งจึงมีภาวะดินแห้งและดินเปียก 4 รอบ เหมือนมีฤดูแล้งสลับฤดูฝนปีละ 4 ครั้ง

แนวคิดโครงการแก้มลิงเกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำรัสถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมาก ๆ โดยมีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"

ปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผงและวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศ เป็นต้นว่าบนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันของร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ หญ้าแฝกมีหลักวิธีดังนี้ จะช่วยการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่มชื้นในดิน เก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่าง ๆ ไม่ให้ไหลลงในน้ำ ซึ่งจะอำนวยผลประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนการฟื้นฟูดินและป่าไม้ให้สมบูรณ์ขึ้น

"ชั่งหัวมัน" หมายถึง การชั่งน้ำหนักมันเทศ ..ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทรงมีพระราชประสงค์ให้นำมันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวาย วางไว้บนตาชั่งแบบโบราณ แล้วพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ พอพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังพระราชวังไกลกังวล จึงพบว่ามันเทศที่วางบนตัวชั่งมีใบงอกออกมา จึงรับสั่งให้นำหัวมันนั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หาพื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศ..

ทศพิธราชธรรม

การให้ การเสียสละ หมายถึง การเสียสละพระราชทรัพย์ เพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ทั้งในด้านบำรุงพระพุทธศาสนาและบรรเทาความยากไร้ ให้ประชาชนอยู่เป็นกิจวัตร ทั้งยังทรงเป็นผู้นำในการบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก จากภัยธรรมชาติหลายต่อหลายครั้ง นอกจากทรัพย์แล้ว ทาน ของในหลวงยังหมายถึงพระราชทานความรู้ เพื่อประชาชนจะได้ใช้เป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน

ความประพฤติดีงาม เป็นความดีงามของกาย วาจา ใจ ที่ประชาชนจะเห็นได้ในทุกพระราชจริยวัตรของในหลวงทั้งกาย วาจา และพระราชหฤทัยของพระองค์ท่านเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน ทั้งยังหมายถึงศีลในการปกครอง อันได้แก่กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา ที่พระองค์ทรงออกผนวชเพื่อศึกษาและปฏิบัติพระธรรมวินัย ทั้งอุทิศพระราชกุศลพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย

การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม  เสียสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อประชาชนมีความสุข ในพระราชกรณียกิจที่เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนนั้น ในหลวงต้องเสียสละความสุขส่วนพระองค์ ต้องทนลำบากในการเดินทาง อดทนต่อความแปรปรวนของอากาศ ความร้อนหนาว ก็เพื่อสร้างความสุขให้ประชาชนทั้งสิ้น

หมายถึง ความซื่อตรงความสุจริต ความจริงใจ ดังจะเห็นได้จากความซื่อตรงต่อพระองค์เอง ต่อหน้าที่ และต่อประเทศชาติมาโดยตลอด สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นผ่านความแน่วแน่ต่อพระราชดำรัสที่เคยตรัสไว้อันเป็นปฐมบรมราชโองการเมื่อทรงครองราชย์ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ซึ่งพระองค์ทรงกระทำตามพระราชดำรัสเสมอมา รวมถึงความสุจริตต่อมิตรประเทศ พระราชวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท

ตัวอย่างความสำเร็จ จากการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้

การแก้ไขปัญหาการระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในการร่วมกันรักษาความสะอาดตามคูคลองต่างๆ รวมถึงเรื่องการรื้อถอนบ้านเรือนประชาชนที่มาสร้างรุกล้ำริมคลอง ก็ดำเนินการควบคู่กันไป เมื่อไม่นานมานี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมคลอง 1 บริเวณพื้นที่สาธารณะ ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้รับการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัยแหล่งใหม่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย ได้มีการจัดทำโครงการปทุมธานีโมเดลขึ้น โครงการพัฒนาชุมชนริมคลองต่างๆ เห็นได้ว่าเกิดประโยชน์มากที่ประชาชนได้รับผลประโยชน์ อันดับแรกคือการปรับปรุงภูมิทัศน์ ความสะอาดการถูกสุขลักษณะสุขอนามัยและที่สำคัญประชาชนที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ผิดกฎหมายได้มีที่อยู่ที่มีความมั่นคง แข็งแรง และถูกกกฎหมาย มีความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย ก็จะช่วยให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรงมากขึ้น และจะสามารถสร้างความมั่นคงในด้านอื่นๆต่อไปได้

ผักตบชวามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และรวมกลุ่มกันหนาแน่นก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำที่ขวางทางไหลของน้ำและการขนส่งคมนาคมทางน้ำ จากกรณีปัญหาผักตบชวาทำให้ลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางช่วงไหลผ่านอำเภอท่าตูมและอำเภอรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์ซึ่งครอบคลุมพื้นที่แหล่งน้ำ 9 แหล่งจำนวนทั้งหมด 29 หมู่บ้าน เกิดการตื้นเขินและปัญหาการขาดแคลนรายได้ของคนในชุมชน ทำให้ชาวบ้านอำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีความสนใจที่อยากจะเปลี่ยนผักตบชวาวัชพืชไร้คุณค่าให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชน ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารปลอดภัยและสมุนไพรพื้นอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเห็นว่าในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค covid-19 ชาวบ้านจำนวนมากเดินทางกลับมาบ้านเกิด จึงเป็นช่วงสำคัญที่จะร่วมมือกันสร้างโอกาสท่ามกลางวิกฤตให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารปลอดภัยและสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นชุมชนมีภูมิปัญญาที่เป็นของตัวเองสำหรับใช้ในการจัดการกับวัชพืช ได้นำความรู้เหล่านั้นมาสร้างเป็นผลผลิตหรือนำมาประกอบอาชีพจนเกิดเป็นรายได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นว่าชุมชนมีแกนนำที่ดี มีผู้คนที่ให้ความร่วมมือ มีเครือข่ายอาหารปลอดภัย ไปจนถึงมีศูนย์เรียนรู้ที่เป็นมรดกของพื้นที่ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง

ความเข้มแข็งในชุมชนก็คือ การสร้างกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งนี้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดนราธิวาส จัดโครงการประชาร่วมใจสร้างไทยเป็นหนึ่ง ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงตลาดในชุมชนตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองนำมาเผยแพร่ให้กับประชาชนที่สนใจในการทำการเกษตรและปศุสัตว์ให้เกิดความรู้และนำความรู้ที่ได้รับนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อที่ประชาชนจะได้ไม่ทอดทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองและนำความรู้ไปขยายผลเพื่อพัฒนาในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างยั่งยืน

โครงการส่งเสริมอาชีพในผู้สูงอายุ ปัจจุบันสภาวะทางเศรษฐกิจได้มีการถดถอยอย่างรุนแรงทำให้ในหลายพื้นที่ต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอ ในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นชุมชนที่มีปริมาณคนว่างงานสูงถึงร้อยละ 30 ของประชากรเนื่องจากคนในชุมชนบางส่วนไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง ทำให้ประชากรกลุ่มนี้ประกอบอาชีพรับจ้างและทำให้มีรายได้ที่ไม่แน่นอนขาดความรู้เรื่องการต่อยอดและการพัฒนาอาชีพ ซึ่งจากสถานการณ์นี้องค์การบริหารส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหา ให้กับประชาชนในพื้นที่ท่านโครงการส่งเสริมอาชีพผลิตน้ำยาเอนกประสงค์และยาหม่องให้ผู้สูงอายุผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ตำบลมะเกลือใหม่ซึ่งเป็นการช่วยลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุคนพิการผู้ด้อยโอกาส บรรดาผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้มีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถร่วมกิจกรรมได้และวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ผลักดันจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริมผู้สูงอายุบนพื้นฐานของทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและอีกทางหนึ่งด้วย

สื่อวีดีทัศน์ เศรษฐกิจพอเพียง ฟังง่ายๆ ฉบับชาวบ้าน

แนะนำ "เศรษฐกิจพอเพียง" สไตน์ Animation ฟังง่ายๆ ฉบับชาวบ้าน
#EP​.1 แนะนำเศรษฐกิจพอเพียง (อนิเมชั่น)
#EP​.2 ความพอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
#EP​​.3 ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว และระดับชุมชน
#EP​​.4 ความพอเพียงระดับภาคธุรกิจเอกชน และระดับประเทศ

9 บทเพลงพระราชนิพนธ์ ในความทรงจำ

เป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ.2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ.2495 จวบจนวันนี้เพลงพรปีใหม่ ก็ยังถูกบรรเลงอยู่ทุกปี

เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะวอลซ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งร่วมกับท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา เพลงพระราชนิพนธ์สายฝนนี้บรรเลงครั้งแรกที่เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2489 ในงานรื่นเริงของ สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย บรรเลงโดยวงสุนทราภรณ์ ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ในเวลาต่อมาเพลงนี้นำมาขับร้องใหม่โดย รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส , นภา หวังในธรรม, สวลี ผกาพันธ์

เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 37 ที่ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.2508 เมื่อพระชนมายุได้ 38 พรรษา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ คำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองเป็นเพลงแรก ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย โดยแปลจากคำร้องภาษาอังกฤษในลักษณะวรรคต่อวรรค และรักษาความหมายเดิมของคำร้องภาษาอังกฤษซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ไว้ด้วย

เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 16 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.2495 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย เพื่อเป็นการปลอบขวัญและให้กำลังใจแก่คนตาบอด แล้วพระราชทานให้นำไปบรรเลง ในงานสมาคมช่วยคนตาบอด ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2495

เผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง

"ถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความคิด และมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่นซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำ พอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล"

“โครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ ต้องมีความสอดคล้องกันดีที่ไม่ใช่เหมือนทฤษฎีใหม่ ที่ใช้ที่ดินเพียง 15 ไร่ และสามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน กิจการนี้ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสัก ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน”

“ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”

“เศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนามาช้านานแล้ว มาบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี่ดีมาก แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ”

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้