ตัวอย่างความสำเร็จ การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้

เศรษฐกิจพอเพียง : เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า" พอเพียง " คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี

ความพอประมาณ : คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

ความมีเหตุผล : ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี : คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัทใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์ การมีรายได้หลายทางเพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

    โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่า พื้นฐานความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข 

    ต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างของชุมชนที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปศึกษาและปฏิบัติจนสำเร็จ เห็นผลภายในระยะเวลาไม่นาน ก่อให้เกิดรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ยังเหลือเผื่อแผ่ แจกจ่ายไปถึงผู้อื่นด้วย

การแก้ไขปัญหาการระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในการร่วมกันรักษาความสะอาดตามคูคลองต่างๆ รวมถึงเรื่องการรื้อถอนบ้านเรือนประชาชนที่มาสร้างรุกล้ำริมคลอง ก็ดำเนินการควบคู่กันไป เมื่อไม่นานมานี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมคลอง 1 บริเวณพื้นที่สาธารณะ ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้รับการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัยแหล่งใหม่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย ได้มีการจัดทำโครงการปทุมธานีโมเดลขึ้น โครงการพัฒนาชุมชนริมคลองต่างๆ เห็นได้ว่าเกิดประโยชน์มากที่ประชาชนได้รับผลประโยชน์ อันดับแรกคือการปรับปรุงภูมิทัศน์ ความสะอาดการถูกสุขลักษณะสุขอนามัยและที่สำคัญประชาชนที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ผิดกฎหมายได้มีที่อยู่ที่มีความมั่นคง แข็งแรง และถูกกกฎหมาย มีความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย ก็จะช่วยให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรงมากขึ้น และจะสามารถสร้างความมั่นคงในด้านอื่นๆต่อไปได้

ผักตบชวามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และรวมกลุ่มกันหนาแน่นก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำที่ขวางทางไหลของน้ำและการขนส่งคมนาคมทางน้ำ จากกรณีปัญหาผักตบชวาทำให้ลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางช่วงไหลผ่านอำเภอท่าตูมและอำเภอรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์ซึ่งครอบคลุมพื้นที่แหล่งน้ำ 9 แหล่งจำนวนทั้งหมด 29 หมู่บ้าน เกิดการตื้นเขินและปัญหาการขาดแคลนรายได้ของคนในชุมชน ทำให้ชาวบ้านอำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีความสนใจที่อยากจะเปลี่ยนผักตบชวาวัชพืชไร้คุณค่าให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชน ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารปลอดภัยและสมุนไพรพื้นอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเห็นว่าในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค covid-19 ชาวบ้านจำนวนมากเดินทางกลับมาบ้านเกิด จึงเป็นช่วงสำคัญที่จะร่วมมือกันสร้างโอกาสท่ามกลางวิกฤตให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารปลอดภัยและสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นชุมชนมีภูมิปัญญาที่เป็นของตัวเองสำหรับใช้ในการจัดการกับวัชพืช ได้นำความรู้เหล่านั้นมาสร้างเป็นผลผลิตหรือนำมาประกอบอาชีพจนเกิดเป็นรายได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นว่าชุมชนมีแกนนำที่ดี มีผู้คนที่ให้ความร่วมมือ มีเครือข่ายอาหารปลอดภัย ไปจนถึงมีศูนย์เรียนรู้ที่เป็นมรดกของพื้นที่ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง

ความเข้มแข็งในชุมชนก็คือ การสร้างกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งนี้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดนราธิวาส จัดโครงการประชาร่วมใจสร้างไทยเป็นหนึ่ง ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงตลาดในชุมชนตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองนำมาเผยแพร่ให้กับประชาชนที่สนใจในการทำการเกษตรและปศุสัตว์ให้เกิดความรู้และนำความรู้ที่ได้รับนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อที่ประชาชนจะได้ไม่ทอดทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองและนำความรู้ไปขยายผลเพื่อพัฒนาในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างยั่งยืน

โครงการส่งเสริมอาชีพในผู้สูงอายุ ปัจจุบันสภาวะทางเศรษฐกิจได้มีการถดถอยอย่างรุนแรงทำให้ในหลายพื้นที่ต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอ ในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นชุมชนที่มีปริมาณคนว่างงานสูงถึงร้อยละ 30 ของประชากรเนื่องจากคนในชุมชนบางส่วนไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง ทำให้ประชากรกลุ่มนี้ประกอบอาชีพรับจ้างและทำให้มีรายได้ที่ไม่แน่นอนขาดความรู้เรื่องการต่อยอดและการพัฒนาอาชีพ ซึ่งจากสถานการณ์นี้องค์การบริหารส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหา ให้กับประชาชนในพื้นที่ท่านโครงการส่งเสริมอาชีพผลิตน้ำยาเอนกประสงค์และยาหม่องให้ผู้สูงอายุผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ตำบลมะเกลือใหม่ซึ่งเป็นการช่วยลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุคนพิการผู้ด้อยโอกาส บรรดาผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้มีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถร่วมกิจกรรมได้และวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ผลักดันจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริมผู้สูงอายุบนพื้นฐานของทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและอีกทางหนึ่งด้วย

โครงการสีคิ้วโมเดล ถือเป็นการขับเคลื่อนและยกระดับการทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยแต่ปราศจากสารเคมี เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ประกอบอาชีพทางการเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว ซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เข้มแข็ง อีกทั้งโครงการสีคิ้วโมเดลนั้นสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ประเทศไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลอีกด้วย ที่มีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนเพิ่มมูลค่าเพิ่ม ที่สำคัญยังเป็นการสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้กับนักศึกษาอีกด้วย

จากอดีตจนถึงปัจจุบันชีวิตของคนไทยจะมีความเป็นอยู่ที่มีความละเอียด พิถีพิถันในหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินซึ่งจะเห็นได้จากความหลากหลายของอาหารไทยที่มีการปรับแต่งให้มีความสวยงามน่ารับประทาน มีความอร่อยจนเป็นที่นิยมจากนานาชาติ เครื่องปรุงอาหารไทยที่สำคัญก็คือเครื่องแกงต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตอาหารทุกครัวเรือน ทำจากเครื่องเทศและสมุนไพรที่เป็นพืชผลทางเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่นจำนวนมาก พืชผลเหล่านี้มีอายุในการเก็บรักษาไม่ยาวนานและมีปริมาณที่ไม่แน่นอน จึงต้องเกิดการแปรรูปให้ตรงกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้บริโภค ซึ่งทำให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองเกตุใหญ่ ผลิตพริกแกงที่มีคุณภาพสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

นอกจากจะมีของดีมีคุณภาพแล้ว ยังมีการบริหารจัดการด้านพลังงานแบบครบวงจรในชุมชน เพื่อเป็นการลดต้นทุนทางด้านพลังงาน กลุ่มกล้วยกวนแม่จำนงค์ได้นำเตาเศรษฐกิจประยุกต์และเตาแก๊สชีวมวล นำมาใช้ประโยชน์ในการลดต้นทุนสร้างรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้สามารถคว้ารางวัสดุยอดคนพลังงานปี 2561 ในสาขาวิสาหกิจลดการใช้พลังงานยอดเยี่ยมในระดับประเทศได้

สมุนไพรไทยเป็นเศรษฐกิจหลักทางรอดของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย และเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนไทย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ทำให้ตลาดสมุนไพรไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว กลายเป็นโอกาสของสมุนไพรไทยหลายๆ ตัวไม่ว่าจะเป็นฟ้าทะลายโจร กระชาย เนื่องจากพบว่ามีฤทธิ์ต้านไวรัส covid-19 ได้ดีรวมถึงแผนการรักษาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ที่นิยมใช้สมุนไพรประกอบกับนโยบายในการส่งเสริมการใช้สมุนไพรของรัฐบาล ที่ส่งเสริมให้ประชาชนนั้นหันมาใส่ใจดูแลเรื่องสุขภาพมากขึ้น

โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดขึ้น คือ โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร ซึ่งเป็นการพลิกชีวิตคนเมืองสู่อาชีพเกษตรกรรมใน บ้านเกิดโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีอยู่ในแต่ละจังหวัด สนับสนุนให้ลูกหลานสมาชิกสหกรณ์หรือบุคคลทั่วไป ที่ประกอบอาชีพในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดต่างๆ นั้น กลับมาทำอาชีพการเกษตรที่บ้านเกิดของตนเอง โดยสหกรณ์การเกษตรจะเป็นศูนย์กลางในการสร้างอาชีพการเกษตรที่มั่นคงการบริหารจัดการครบวงจร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการจัดหาช่องทางการจำหน่าย ซึ่งโครงการนี้มีระยะเวลาในการดำเนินการ 3 ปีแล้วตั้งแต่ปี 2563-2565 ซึ่งเป็นช่วงที่สังคมไทยกำลังตกอยู่ในภาวะยากลำบาก ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค covid-19 โครงการนี้จะตอบโจทย์กับสถานการณ์ความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรไทยที่กำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี

พื้นที่ใหม่ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เต็มไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนใหญ่ที่สุดนับหมื่นไร่อยู่ในดินแดนแห่งนี้ เป็นเสมือนขุมทรัพย์ทางธรรมชาติ ที่นักวิจัยทั้งไทยและชาวต่างชาติอยากจะเข้ามาศึกษากันและ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงในระดับโลกก็เล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วก็ได้ก่อตั้งเครือข่ายสมุนไพรในนามลังกาสุกะโมเดลขึ้น โครงการลังกาสุกะโมเดลเกิดจากแนวของ ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรหญิงของไทยผู้โด่งดังระดับโลก ในฐานะผู้คิดค้นยาต้านไวรัสเอดส์และยังพัฒนายาอีกหลายชนิดซึ่งผลงานของเภสัชกรหญิงชาวไทยทำให้ผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นคนจนคนรวยก็สามารถเข้าถึงยารักษาสั้นไวรัสเอดส์ได้อย่างเท่าเทียมกัน นั่นจึงเป็นที่มาของการตัดสินใจที่จะนำความรู้ด้านเภสัชกรรมของตนเองมาช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

พื้นที่จังหวัดภาคใต้ซึ่งมีพี่น้องชาวมุสลิมจำนวนมากโดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี ยะลา และ จังหวัดนราธิวาส ทำอาชีพเลี้ยงแพะซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่อยู่คู่กับสังคมมุสลิมมาอย่างยาวนาน นอกจากจะนิยมรับประทานเนื้อแพะแล้วนมแพะได้รับการยอมรับ ว่ามีคุณสมบัติแล้วก็มีสารอาหารที่ใกล้เคียงกับนมแม่มากที่สุด การนำพระมาเป็นอาหารนั้นก็มีความสำคัญในด้านของความเชื่อทางศาสนาอิสลามอยู่ด้วยดังนั้นแพะจึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ซึ่งมีความต้องการบริโภคค่อนข้างสูง จึงเป็นที่มาของการส่งเสริมให้ประชาชนจากเดิมที่มีการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองธรรมชาติ เปลี่ยนมาเป็นเลี้ยงแพะอย่างถูกหลักวิชาการภายใต้การบริหารจัดการแบบธนาคารที่เราเรียกว่าธนาคารแพะ ธนาคารแพะเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อขยายพันธุ์แพะโดยเริ่มต้นจากหน่วยงานราชการในพื้นที่นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์แท้ที่มีคุณภาพไม่แจกจ่ายให้กับประชาชนนำไปเลี้ยงแล้ว เมื่อเกิดลูกแล้วก็ส่งกลับคืนให้กับหน่วยงานนั้น จะได้มีลูกเพื่อจ่ายให้กับเกษตรกรรายอื่นต่อไป

เกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียงต่างรู้จักไร่อรหันต์กว้างขวาง เพราะในหลายปีก่อนไร่อรหันต์แห่งนี้มีชื่อเสียงในเรื่องของการปลูกมันสำปะหลังที่มากที่สุดในประเทศ และยังมีช่องยูทูปเป็นของตนเอง แต่ในปัจจุบันนี้ไร่อรหันต์กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง ในการเป็นต้นแบบของการทำการเกษตรแบบผสมผสานและการปลูกพืชอย่างคุ้มค่าบนเนื้อที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด ในปัจจุบันเกษตรกรและมีการปลูกพืชแบบเดิมๆ การหันมาปลูกพืชชนิดที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบสนองการทำการเกษตรของชาวบ้าน แต่แนวทางดังกล่าวไม่ใช่แนวคิดใหม่ จะเป็นแนวทางที่เกษตรกรบางพื้นที่ดำเนินมาก่อน และประสบผลสำเร็จมาแล้วที่บ้านกุดปลาเข็ง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา โดยใช้ปัญหาเป็นอีกพื้นที่ที่เกษตรกรประสบผลสำเร็จจากการปลูกพืชที่เหมาะสมในแนวทางผสมผสานแนวเกษตรอินทรีย์นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี

ชุมชนที่นี่สามารถเอาชนะความแห้งแล้งของธรรมชาติได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของคนในชุมชน รวมไปถึงความเสียสละเพื่อส่วนรวมของคนในชุมชน พื้นที่แห่งนี้แต่เดิมเป็นพื้นที่ดินที่ค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ปัจจุบันสามารถที่จะปลูกพืชผลต่างๆได้อย่างงดงาม ที่สำคัญคนในชุมชนมีความสุขกับวิถีชีวิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ชาวบ้านโคกพลวงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของชุมชน ซึ่งมีผู้นำที่มีหัวใจอาสาโดยนำความรู้และวิธีการแก้ไขปัญหามาถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน ได้นำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปประธรรม เมื่อมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันแล้วก็ยอมเสียสละผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย เพื่อส่วนรวมนำความสุขอย่างมหาศาลลงมาสู่ชุมชน

เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็สามารถที่จะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ เช่นเรื่องราวของชาวชุมชนบางบัวเขตลาดกระบัง ที่มีพื้นที่ค่อนข้างน้อยแล้วก็มีต้นทุนไม่มาก แต่สามารถที่จะจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดรายได้เสริม ที่สำคัญจะเห็นได้ถึงเรื่องของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ของชาวชุมชนบึงบัว ที่พร้อมจะเสียสละเวลาว่างมาทำกิจกรรมและสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม

หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาที่ประชาชนทุกสาขาอาชีพสามารถยึดเป็นหลัก ในการดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลางและสอดคล้องกับการใช้จ่ายของตนเองอย่างเหมาะสม การดำเนินโครงการสานต่อที่พ่อทำขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่หรือที่เรียกกันว่าโครงการ 1 ไร่แก้จน มีการขับเคลื่อนเดินหน้าเต็มที่ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและประชาชน ในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซร จังหวัดสุพรรณบุรี โครงการสานต่อที่พ่อทำขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจเป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจาก การส่งเสริมให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน เพื่อให้ประชาชนที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานและนำกลับไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองอย่างแท้จริง

ลักษณะชุมชนเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็กที่อยู่ลงตัวกันมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างเรียบง่าย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งวัดวาอารามมีสวนเกษตรของชาวบ้านที่เหมาะกับการไปท่องเที่ยว จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ที่มีศูนย์การเรียนรู้ทางด้านการทำเกษตรแบบผสมผสานอยู่มากมาย ไม่เพียงแต่สวนเกษตรของคุณอิทธิเดชเท่านั้น แต่ว่ายังมีสวนเกษตรอื่นๆอีกหลายแห่งและเกษตรกรชาวสวน พร้อมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลอื่นๆซึ่งทุกคนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเป็นวิทยากรเพื่อสอนองค์ความรู้ที่ตนเองถนัดให้กับกลุ่มต่างๆอยู่เสมอ

ปัญหาการบุกรุกป่าชายเลนที่ อ.คลองโคน จ.สมุทรสงคราม มีสาเหตุมาจากความเจริญของชุมชนและการเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ รวมไปถึงการทำนากุ้ง ซึ่งถือว่าเป็นการทำลายความสมดุลทางธรรมชาติในป่าชายเลน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ขายได้ร่วมมือกันเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนและอนุรักษ์ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกทำลาย ที่นี่เป็นแหล่งรวมพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งสัตว์บกสัตว์ปีกและสัตว์น้ำมีความสำคัญต่อระบบนิเวศและยังเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจของชุมชน และความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนส่วนราชการและภาคเอกชนที่คอยกระตุ้นจิตสำนึก ให้กับคนในพื้นที่ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกป่าชายเลนด้วยพระองค์เองหลายครั้ง

ปลาที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงในปัจจุบันคือปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี พ.ศ 2508 เป็นต้นมาก็สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพและมีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งคุณสมบัติของปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างที่จะหายากและการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของประชาชนบางกลุ่มก็มีอุปสรรคเพราะประชาชนมีรายได้ที่ไม่เพียงพอและเพื่อให้ได้พันธุ์ปลานิลที่ดีมีคุณภาพ กองพลทหารราบที่ 6 ได้ดำเนินการให้หน่วยงานทหารผลิตพันธุ์ปลานิลน้ำจืด เพื่อไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน ศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทานเพื่อนช่วยเพื่อนพื้นที่อีสานใต้ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่จะช่วยให้พี่น้องประชาชนโดยรอบค่ายและประชาชน ในเขตพื้นที่ชายแดนอีสานใต้ได้มีอาชีพ มีรายได้ และสามารถเข้ามาเรียนรู้การเพาะเลี้ยงปลานิล นำความรู้และวิธีการแก้ไขปัญหามาให้กับชาวบ้านได้นำมาปฏิบัติ อย่างเป็นรูปประธรรมและเกิดประโยชน์

วนเกษตรเขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว วนเกษตรเป็นการทำเกษตรในพื้นที่ป่าหรือการทำเกษตรผสมผสานหรือพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า ซึ่งเจ้าของไร่ที่นี่ได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นผืนป่าที่มีมูลค่า ยังได้ริเริ่มการทำนาแบบใช้น้ำน้อย และยังน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ว่าด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มาปรับใช้เป็นแนวทางและพัฒนาเป็นวนเกษตรเช่นในปัจจุบัน ความพอเพียงใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ และการทำเกษตรนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ต้นทุนที่สูง แต่จำเป็นต้องอาศัยความดูแลเอาใจใส่ และดูแลพื้นที่การเกษตรของตนเองให้มีคุณภาพก็จะทำให้มูลค่าของสินค้าของเราสามารถเพิ่มขึ้นได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำในปริมาณมากๆ

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงานชุมชน จ.ชัยนาท ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงานชุมชนจังหวัดชัยนาท ที่นี่เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจด้านการอนุรักษ์พลังงาน อีกทั้งยังเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย บรรดานักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชมก็สามารถที่จะสนุกไปด้วยเที่ยวไปด้วย แล้วก็เรียนรู้ไปด้วยจากฐานการเรียนรู้ต่างๆ ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศที่มีราคาสูง หากประยุกต์เทคโนโลยีกับปัญหาเข้ากับชุมชน ให้กับเกษตรกรที่ทำเองได้ง่าย ติดตั้งง่าย การบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก ก็จะเป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเกิดประสิทธิภาพ ลดต้นทุนทางการเกษตรได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแก้วกล้า ต.กลัดหลวง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เป็นต้นแบบของการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านมา พวกเขาเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมายโดยเฉพาะเรื่องของที่ทำกิน แต่พวกเขาก็ไม่เคยย่อท้อ เพราะมีโอกาสพวกเขาก็พลิกฟื้นผืนดินมาทำเกษตรแบบอินทรีย์ จนประสบความสำเร็จและได้รับการยกย่องให้เป็นกลุ่มเกษตรที่เข้มแข็ง การเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นทางรอดของเกษตรกรไทยจะช่วยให้เกษตรกรรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติได้อย่างมั่นคงต่อไป

ภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.พระนครศรีอยุธยา หมวกงอบใบลานคงนึกถึงภาพชาวนาไทยในอดีต ที่ใส่หมวกงอบกำลังดำนาหรือว่ากำลังเกี่ยวข้าวอยู่ หรือไม่ก็อาจจะนึกถึงบรรดาพ่อค้าแม่ค้า ที่ใส่หมวกงอบแล้วก็กำลังพายเรือแจวขายผลไม้อยู่ในตลาดน้ำ ถือเป็นภาพที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาล้ำค่าของบรรพบุรุษชาวไทย ที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นหมวก ซึ่งผลิตได้จากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รักษาภูมิปัญญาอันล้ำค่าไปตลอดไป

รายได้เสริมจากการเลี้ยงปลา ในสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างหนัก อันเนื่องมาจากผลกระทบของโควิด 19 การสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชุมชนนอกเหนือจากการทำอาชีพหลัก ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราไม่มีทางคาดเดาได้ว่าวิกฤตการณ์ของโรคในครั้งนี้จะผ่านไปเมื่อไหร่ ถึงเวลาที่เราชาวไทยจะต้องหันกลับมาใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกันอย่างจริงจัง ด้วยการสร้างทรัพย์ในดินสินในน้ำ การบริหารจัดการของคนในชุมชน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าในแหล่งน้ำชุมชน โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน และสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาตามพระราชดำริฯ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีชื่อเสียงเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่งดงาม จึงได้รับสมญานามว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย ทำให้ประชาชนที่นี่มีรายได้หลักจากการที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว มาสัมผัสวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาที่นี่ปีละจำนวนไม่น้อยทีเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ถ้าหากว่าคนที่นี่ไม่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในจังหวัดแม่ฮ่องสอนอยู่บ่อยครั้งแล้วก็พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชาวไทยภูเขามีความยากลำบากในการทำกิน ทั้งสองพระองค์จึงทรงพระราชทานจัดตั้งโครงการพัฒนาตามพระราชดําริขึ้นมากมาย ปัจจุบันถือเป็นแนวทางปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงที่มีความสุข

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีบ้านสวนแตง นอกจากจะผลิตพันธุ์ข้าวจำหน่ายให้กับสมาชิกแล้วการที่ผลิตพันธุ์ข้าวได้มาตรฐานทำให้พันธุ์ข้าว เป็นที่ต้องการของท้องตลาดแล้วก็สามารถที่จะจำหน่ายให้กับผู้คนที่อยู่ในชุมชนใกล้เคียงอีกด้วย แล้วก็ไม่ต้องไปขายให้กับโรงสีข้าวที่กดราคาด้วย นี่ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของชาวนาไทย ที่เขารวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอาชีพเกษตรกร

ชุมชนตำบลยายชา อ.สามพราน จ.นครปฐม ในปัจจุบันสังคมของเรามีคนที่ยากลำบากเป็นจำนวนมากในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้อาจจะได้รับการดูแลจากสวัสดิการของภาครัฐไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็น ที่พวกเขาเหล่านี้จะต้องรวมกลุ่มกันเพื่อจัดการตัวเอง ชุมชนตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการจัดการระบบสวัสดิการชุมชน ที่ตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ชุมชนจะมีแกนนำเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆให้ประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือคนในชุมชนร่วมกันขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นชุมชนตัวอย่างที่ประชาชนสามารถพึ่งพาตัวเองโดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาคราชการ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายร่วมใจตามรอยพ่อเครือข่ายชุมชน ที่เกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านโดยใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์และก๊าซชีวภาพ ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งนำมาประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมและทำเกษตรผสมผสานด้วยการปลูกมะนาว ทุเรียน ขนุน ยางพารา นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจนทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้ดียิ่งขึ้น การไม่มีไฟฟ้าใช้เพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล แต่สามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้มีความมั่นคงทางด้านพลังงาน มีความมั่นคงทางด้านอาหารก็มีหลายๆ หน่วยงานเข้ามาศึกษาดูงานและตอนนี้เครือข่ายร่วมใจตามรอยพ่อก็ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นอีกด้วย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรสวนมาลี จ.กาญจนบุรี กลุ่มเกษตรกรรวมตัวกันเพื่อที่จะนำผลผลิตต่างๆ มาแปรรูปเพื่อออกจำหน่ายซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ผลผลิตทางการเกษตรอย่างเดียว ตอนนี้ยังมีพืชสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่นก็ถูกนำมาแปรรูปเพื่อจำหน่ายในช่วง covid-19 เช่นกันเพื่อที่จะให้พี่น้องประชาชนซื้อไปบำรุงสุขภาพ นับว่าเป็นต้นแบบของกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งแม้ว่าในช่วงนี้ กิจกรรมทางการตลาดต่างๆจะซบเซาลงไปบ้าง แต่ว่ากลุ่มนี้ก็ยังคงไม่ย่อท้อยังคงเดินหน้าทดลองทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอซึ่งในอนาคตข้างหน้านี้ กำลังจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา เป็นกล้วยผงอัดเม็ดซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ที่ตอนนี้กำลังมาแรงในยุคของ covid-19 เลยทีเดียว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้