โครงการแกล้งดิน

Last updated: 20 ธ.ค. 2564  |  93621 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โครงการแกล้งดิน

แกล้งดิน หมายถึง กระบวนการเร่งปฏิกิริยาเคมีในดินซึ่งมีศักย์หรือความพร้อมจะเป็นดินเปรี้ยว ให้เปรี้ยวรุนแรงมีกรดจัด จากนั้นจึงปรับปรุงโดยเติมปูนขาวหรือด่าง ร่วมกับการใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวจนสามารถเพาะปลูกได้ เป็นแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อพุทธศักราช 2527 เพื่อการทดลองที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อได้ผลแล้วจึงนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยว เช่น พรุในจังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ดินเปรี้ยวในจังหวัดนครนายก เป็นต้น การแกล้งดิน คือการเร่งปฏิกิริยาเคมีของดินที่มีแร่กำมะถัน หรือสารประกอบไพไรต์ (Pyrite) โดยทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เมื่อดินแห้งสัมผัสกับอากาศ ทำให้แร่กำมะถันกลายเป็นออกไซด์ของเหล็กและซัลเฟต เมื่อทำให้ดินเปียกซัลเฟตผสมกับน้ำกลายเป็นกรดอีกครั้ง เมื่อดินถูกแกล้งสลับไปมาจนกลายเป็นดินที่เปรี้ยวรุนแรงหรือเป็นกรดจัด จากนั้นจึงปรับปรุงดินโดยเติมฝุ่นปูนซึ่งเป็นด่าง ร่วมกับการใช้ระบบชลประทานควบคุมระดับน้ำใต้ดินและนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวจนสามารถเพาะปลูกข้าว พืชไร่เช่น ข้าวโพด ผลไม้เช่นเสาวรสและเลี้ยงปลาเช่นปลานิลได้

แนวพระราชดำริแกล้งดิน มาจากการเลียนแบบสภาพธรรมชาติของพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีฤดูแล้ง 4 เดือน ฤดูฝน 8 เดือน การทดลองใช้วิธีร่นระยเวลาช่วงแล้งและช่วงฝนในรอบปีให้สิ้นลง ปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน ปีหนึ่งจึงมีภาวะดินแห้งและดินเปียก 4 รอบ เหมือนมีฤดูแล้งสลับฤดูฝนปีละ 4 ครั้ง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ศึกษาวิจัยและปรับปรุงดินโดยวิธีการแกล้งดินจนประสบผลสามารถแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่พรุให้เพาะปลูกได้ และขยายผลไปยังพื้นที่พรุบ้านโคกอิฐ-โคกโพธิ์ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ละ 5-10 ถัง เป็น 40-50 ถัง เมื่อพุทธศักราช 2535 นอกจากนี้ยังนำแนวพระราชดำริแกล้งดินไปใใช้ในพื้นที่พรุแฆแฆ จังหวัดปัตตานี มีการปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท ข้าวพันธุ์แก่นจันทร์ ข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง ข้าวพันธุ์หอมสุพรรณบุรี ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
พุทธศักราช 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตแก่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ดำเนินการขอจดสิทธิบัตร และกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เลขที่ 22637 วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2550 สำหรับการประดิษฐ์คือ กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน)

ทฤษฎีแกล้งดิน

หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกันมาบ้างแล้ว ชื่อของโครงการแต่ละโครงการล้วนสะดุดหูชวนให้สนใจติดตามว่าเป็นโครงการอะไร ซึ่งแต่ละชื่อของโครงการล้วนเป็นเหตุเป็นผลทั้งสิ้น บางชื่อก็มีความหมายตรงตามชื่อ โดยมิต้องอ้อมค้อมตีความ เช่น โครงการแก้มลิง คือการนำน้ำในขณะที่มีมาก ๆ มาพักไว้ที่บ่อเก็บและค่อย ๆ ระบายออกไป โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นเดียวกับลิง เมื่อได้รับอาหารมากก็จะรีบกินทั้งหมดแล้วเอาไปเก็บไว้ที่กระพุ้งแก้ม จากนั้นค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวบริโภคภายหลัง หรือโครงการ แกล้งดิน ก็มีความหมายหรือภารกิจที่ทำตรงตามชื่อโครงการ คือทรงใช้วิธีแก้ไขดินที่เปรี้ยวจัดให้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้โดยวิธี "แกล้งดิน" 

   ท่านผู้อ่านจะได้ทราบว่าวิธีแกล้งดินนั้นเป็นอย่างไร รวมทั้งเกษตรกรที่ประสบปัญหาดินเปรี้ยวจัดก็สามารถนำวิธีการนี้ไปใช้ ประโยชน์ในการฟื้นฟูและแก้ไขดินในพื้นที่ของท่านได้ เพราะโครงการนี้ผ่านการทดลองปฏิบัติอย่างได้ผลมาแล้ว


ที่มาของโครงการ

สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จแปรพระราชฐานไปยังจังหวัดต่าง ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอในการเสด็จแปรพระราชฐานทุกครั้งมิได้เพื่อทรงพักผ่อนเช่น สามัญชนทั่วไป แต่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรหรือติดตามโครงการต่าง ๆ ที่ทรงริเริ่มหรือมีพระราชดำริไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการถวายความสะดวกแด่พระประมุขของชาติ รัฐบาลจึงสร้างพระตำหนักน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่ประทับในคราวเสด็จแปรพระราชฐานไว้ในหลายจังหวัด เช่น พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ที่จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดภาคใต้ ทำให้ทรงทราบว่าราษฎรมีความเดือดร้อนหลายเรื่องโดยเฉพาะในกลุ่มของเกษตร เช่น การขาดแคลนที่ทำกินหรือปัญหาในพื้นที่พรุซึ่งมีน้ำขังอยู่ตลอดปี แม้สามารถทำให้น้ำแห้งได้ ดินในพื้นที่เหล่านั้นก็ยังเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเกษตรได้ผลน้อยไม่คุ้มทุนพระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ว่ามีความ จำนงเร่งด่วนที่จะต้องพระราชทานความช่วยเหลือ ดังจะเห็นได้จากความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสต่อไปนี้

“ ..ที่ที่น้ำท่วมนี่หาประโยชน์ไม่ได้ถ้าเราจะทำให้มันโผล่พ้นน้ำขึ้นมา มีการระบายน้ำออกไป ก็จะเกิดประโยชน์กับประชาชนในเรื่องของการทำมาหากินอย่างมหาศาล..” พระองค์ทรงมอบให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาหาแนว ทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุซึ่งมีน้ำแช่ขังอยู่ตลอดปี มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำเกษตรให้ได้มากที่สุด โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่าพรุด้วย

การที่ดินในป่าพรุเป็นดินเปรี้ยวจัดก็เพราะ ดินเหล่านี้เป็นดินที่มีอินทรียวัตถุคือรากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และในระดับความลึกประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินซึ่งมีสารประกอบไพไรต์หรือกำมะถันอยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง กรดกำมะถันก็จะทำปฏิกิริยากัอากาศทำให้แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดพระองค์จึงมีพระราชประสงค์จะแก้ไขปัญหานี้ให้กับราษฎร

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ อันเป็นต้นกำเนิดของโครงการ แกล้งดิน ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ความว่า “..ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขต จังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปี ..”
โครงการ “ แกล้งดิน” จึงกำเนิดขึ้นโดยมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เป็นหน่วยดำเนินการสนองพระราชดำริ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินกำมะถัน

 

การดำเนินงาน

วิธีดำเนินการในโครงการ เริ่มจากการแกล้งดินให้เปรี้ยวโดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินซึ่งจะไปกระตุ้นสารประกอบกำมะถันหรือสารประ กอบไพไรต์ ให้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศส่งผลให้ดินเป็นกรดจัดคือต้องการ “แกล้งดินให้เปรี้ยวจนสุดขีด” จนพืชเศรษฐกินต่างๆ ไม่สามารถเจริญงอกงามให้ผลผลิตได้ จากนั้นจึงหา




วิธีปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ โดยมีแนวพระราชดำริ ดังนี้

1. แก้ไขโดยวิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน พยายามคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนซึ่งมีสารประกอบไพไรต์ เป็นการป้องกันมิให้สารประกอบไพไรต์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.1 วางระบบการระบายน้ำทั่วทั้งพื้นที่
1.2 ระบายน้ำเฉพาะส่วนบนออก เพื่อชะล้างกรด
1.3 รักษาระดับน้ำในคูระบายน้ำให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 1 เมตรจากผิวดินตลอดทั้งปี
 
2. แก้ไขโดยวิธีปรับปรุงดิน ตามแนวพระราชดำริ โครงการนี้จะมีวิธีปรับปรุงดิน 3 วิธีอาจเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและตามสภาพของดิน คือ

วิธีการที่ 1 ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ใช้น้ำชะล้างดินเพื่อล้างกรด ทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้น โดยวิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลงแล้วระบายออก ทำเช่นนี้ประมาณ 2-3 ครั้ง โดยเว้นให้ห่างกันประมาณ 1-2 สัปดาห์
- ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือในฤดูแห้ง ดังนั้น การชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการช้ำชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาวมิใช่ กระทำเพียง 1 หรือ 2 ครั้งเท่านั้นวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้างดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มาก
- เมื่อดินคลายความเปรี้ยวลงแล้วจะมีค่า pH เพิ่มขึ้น อีกทั้งสารละลายเหล็กและอะลูมินัมที่เป็นพิษก็เจือจางลงจนทำให้พืชสามารถ เจริญเติบโตได้ดีถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตเช่วยก็สามารถเจริญเติบโต ได้ดีถ้าหากใช้ปุ๋ยในโตรเจนและฟอสเฟตช่วยก็สามารถทำการเกษตรได้

วิธีการที่ 2 การแก้ไขดินเปรี้ยวโดยใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน คือ
-ใช้วัสดุปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (mar) สำหรับภาคกลาง หรือปูนฝุ่น ( lime dust ) สำหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่แล้วไถแปรหรือพลิกกลบคืน ( ปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในความเป็นกรดของดิน )

วิธีการที่ 3 การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดินเป็นวิธีการที่ สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรงหรือถูกปล่อย ทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน

วิธีการแก้ไข ให้ปฏิบัติไปตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

- หว่านปูนให้ทั่วพื้นที่ โดยใช้ปูน 1-2 ตันต่อไร่ แล้วไถกลบ
- ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดออกจากหน้าดิน
- ควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์ มากเพื่อป้องกันมืให้ทำปฏิกริยากับออกซิเจน เพราะจะทำดินกลายเป็นกรด

3. การปรับสภาพพื้นที่
เนื่องจากสภาพพื้นที่ดินเปรี้ยวในแถบนี้เป็นป่าพรุ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม จึงทำการระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ลำบาก จำเป็นต้องมีการปรับสภาพพื้นที่ ซึ่งโดยทั่วไปทำกันอยู่ 2 วิธี คือ

3.1 การปรับผิวหน้าดิน โดยการทำให้ผิวหน้าดินลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออกไปสู่คลองระบายน้ำได้หรือ ถ้าเป็นการทำนาก็ จัดตกแต่งแปลงนาและคันนาให้สามารถเก็บกักน้ำและสามารถระบาย น้ำออกได้ถ้าต้องการ

3.2 การยกร่องปลูกพืช วิธีนี้ใช้สำหรับพื้นที่ที่จะทำการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น แต่วิธีนี้จำเป็นจะต้องมีแหล่ง น้ำชลประทาน เพราะจะต้องขังน้ำไว้ในร่องเพื่อใชถ่ายเทเปลี่ยน เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด
ในการขุดร่องนี้ เกษตรกรจะต้องทราบว่าในพื้นที่นั้นมีดินชั้นเลนซึ่งเป็นดินที่มีสารประกอบไพ ไรต์มากอยู่ลึกในระดับใด เพราะเมื่อขุดร่องจะให้ลึกเพียงระดับดินเลนนั้น โดยทั่วไปจะลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้