โครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระปรีชาสามารถในศาสตร์ต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เช่น โครงการเกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า และวิศวกรรม โดยการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวจะมีหน่วยงานพิเศษของทางราชการเป็นตัวกลางในการประสานงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 
 
โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า

  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จ.สกลนคร
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จ.เพชรบุรี เน้นเรื่องป่าเปียก, ป่าชายเลน
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี เน้นเรื่องสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลนและโครงการอนุรักษ์หญ้าทะเล
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ เน้นเรื่องทฤษฏีการปลูกป่า 3 อย่าง
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จ.ลำพูน เน้นเรื่องการพัฒนาและฟื้นฟู
  • โครงการห้วยองคต จ.กาญจนบุรี เน้นเรื่องการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม (rehabilitation)
  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เน้นการรักษาสภาพป่าชายเลนโดยวิธีทางธรรมชาติ
  • โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
  • โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จ.เชียงใหม่และลำพูน เน้นการปลูกป่า การทำแนวกันไฟ
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
  • โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยธรรมชาติและป่าพรุสิรินทร

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน

  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส
  • โครงการศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่อาว จ.ลำพูน
  • โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี
  • โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จ.นครนายก
    - แนวพระราชดำริ "แกล้งดิน"
    - แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการนำ "หญ้าแฝก" มาใช้ป้องกันการพังทลายของดิน
    - แนวพระราชดำริ "ห่มดิน" เพื่อการฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพ 

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ

  • โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี,จ.สระบุรี
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จ.ลำพูน
  • โครงการห้วยองคต จ.กาญจนบุรี
  • โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก
  • โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จ.เชียงใหม่,จ.ลำพูน
  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี
  • โครงการน้ำดีไล่น้ำเสียตามคลองต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
  • โครงการบำบัดน้ำเสียโดยใช้พืช บึงมักกะสัน จ.กรุงเทพมหานคร
    - แนวพระราชดำริ "แก้มลิง"
    - "ฝนหลวง"
  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เน้นการบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยวิธีทางธรรมชาติ
  • โครงการผันน้ำเข้าที่ส่วนพระองค์ บริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา
  • โครงการป้องกันน้ำท่วมด้วยการเบี่ยงน้ำ คลองลัดโพธิ์ กรุงเทพมหานคร
  • โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยทอน จังหวัดหนองคาย
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี 

โครงการทางด้านวิศวกรรม

  • โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
  • โครงการสะพานพระราม 8
  • โครงการด้านการจราจร เกี่ยวกับการขยายถนนคอขวดจุดต่างๆ
  • ไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์จากพืชของไทย
  • กังหันชัยพัฒนา
  • ฝายแม้ว หรือการจัดทำฝายชะลอน้ำ เพื่อฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม

แนวพระราชดำริอื่นๆ

  • แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
  • แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
  • โรงเรียนกาสรกสิวิทย์

“…ให้จัดตั้งโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ขึ้นในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่มีฐานะยากจนไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง โดยให้ถือครองที่ดินเพื่อพักอาศัยและทำการเกษตรในรูปแบบหมู่บ้านสหกรณ์…”

“…ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ จังหวัดสกลนคร-นครพนม เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรบริเวณสองฝั่งของลำน้ำก่ำที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน และขาดแคลนน้ำทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง…”

“…ให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืชผักและผลไม้เมืองหนาว…”

“…ให้สร้างสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรมเชื่อมถนนพระรามที่ 3 ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนสุขสวัสดิ์ (สะพานภูมิพล 1) เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ (สะพานภูมิพล 2) เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและการขนส่งสินค้า…”

“…ให้จัดตั้งมูลนิธิช่วยเหลือนักเรียนขาดแคลนในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ มูลนิธิภูมิพล และมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อช่วยเหลือการศึกษาและการทำปริญญานิพนธ์ หรือการวิจัยให้แก่บัณฑิต และพระราชทานแก่บัณฑิตที่ได้คะแนนยอดเยี่ยมในสาขาวิชาต่างๆ ในการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเมื่อนักศึกษาทุนกลับสู่ประเทศไทย…”

“…ให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน และอุโมงค์ลอดใต้ภูเขา ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำในจังหวัดมุกดาหาร ส่งให้พื้นที่เพาะปลูกอำเภอเขาวง แก้ภัยแล้งได้ยั่งยืน…”

“…ให้กรมประมงรักษาพันธุ์แท้ไว้ในสวนจิตรลดา ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าปลาดังกล่าวมิได้กลายพันธุ์ไป ขอให้เร่งรัดเรื่องพันธุกรรม ถ้าหาพ่อแม่พันธุ์ไม่ได้ก็เอาที่สวนจิตรลดา…”

“การดำริสร้างสถานศึกษานี้ขึ้น ก็เพื่อจะได้ช่วยเหลือเด็กผู้พลอยประสบเคราะห์กรรมให้มีสถานที่เล่าเรียน ซึ่งโดยธรรมชาติควรมีสิทธิ์ที่จะกระทำสิ่งใดได้เช่นผู้อื่น การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่โชคชะตาบันดาลให้ต้องเกิดมาในภาวะเช่นนี้ย่อมเป็นกุศลและเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติ เพราะเด็กเช่นว่านี้เมื่อได้รับการศึกษา อบรมด้วยดีเติบโตขึ้นก็จะเป็นพลเมืองที่ดีเป็นประโยชน์แก่ตนเองและชาติบ้านเมืองในอนาคต”

“…ให้ก่อสร้างถนนวงแหวนรอบใน (ถนนรัชดาภิเษก) โดยสร้างถนนเพิ่มขึ้นในรูปแบบของถนนวงแหวนรอบ (Ring Road) และถนนยกระดับ (Elevated Road) เพื่อเป็นของขวัญแก่ประชาชนทั่วไป…”

“สิ่งโสโครกจากบ้านเรือนที่ให้เทศบาลสูบไป มักนำไปปล่อยลงคลอง ลงแม่น้ำ ถ้าหาที่แห่งหนึ่งนอกเมือง ทำถังหมักสิ่งโสโครกไว้ 10 วัน สิ่งที่เป็นสิ่งโสโครกก็หายโสโครกเชื้อโรคอะไรก็หมดไป ถ้าให้ดีเอาไว้ 28 วัน ให้มันจริงๆจังๆ พวกเชื้อที่ร้ายแรงที่ยังมีอยู่ก็หมด แม้แต่กลิ่นก็หายหมด เสร็จแล้วเอามาตากใช้ประโยชน์ได้ ทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและส่วนที่เป็นน้ำเป็นปุ๋ยที่ไม่เหม็น เทศบาลต่างๆ ที่มีปัญหานี้ก็ต้องพยายามพิจารณาว่าจะทำอะไรต่อไป”

“…ให้พัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำลำนางรอง โดยสร้างอ่างเก็บน้ำคลองมะนาวที่หมู่บ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง และสร้างเขื่อนลำนางรอง เพื่อควบคุมการจัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรในการเพาะปลูกพืช…”

“…แก้ปัญหาจราจรด้วยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว โดยให้จัดหารถจักรยานยนต์แก่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ทำหน้าที่เป็นรถนำขบวนให้แก่ประชาชน เพื่อแก้ปัญหาจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน…”

“...ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแลบำบัดทุกข์ให้แก่นักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นกันดารห่างไกลหมอ และจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดตามความจำเป็นโดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปโดยรถยนต์และตระเวนไปตามถนนหนทาง ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชนบท...”

“...หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการ หรือพอใจจะเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถค้นหา อ่านทราบโดยสะดวก นับว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์ เกื้อกูลการศึกษา เพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคัญ...”

“…ควรพิจารณาสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำห้วยโสมง ทำเลที่สร้างเขื่อน พิกัด 48 PSA 806-585 แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระหว่าง 5437 III โดยด่วน ทั้งนี้ควรพิจารณาเก็บกักน้ำอย่างเต็มที่เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรสองฝั่งห้วยโสมง ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง และมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดปี…”

“...ให้แก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ทำการเกษตรไม่ได้ผล และให้ทำพื้นที่เพื่อทดสอบปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็มให้ได้ผล เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่เกษตรกรบริเวณใกล้เคียงและผู้สนใจทั่วไปที่กำการเกษตรไม่ได้ผลเนื่องจากประสบปัญหาดินเค็ม...”

“โครงการชลประทานต่างๆ ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว ควรจัดการให้ราษฎรมีการใช้น้ำอย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมมือกัน”

"...ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแล บำบัดทุกข์ให้แก่เด็กนักเรียน และประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลหมอ และจะออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามความจำเป็นโดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปบนรถยนต์ และตระเวนไปตามถนนหนทาง ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชนบท..."

“ มีคนเอาที่มาให้อยู่อำเภอปักธงชัย...บอกว่าทำอะไรก็ได้...จึงจะทำโครงการสาธิตทฤษฎีใหม่ ในที่ที่เหลือส่วนหนึ่งจะทำการเพาะปลูกแบบชาวบ้านแบบไม่ได้ส่งเสริม หมายความว่าใช้น้ำฝน ใช้ธรรมชาติ แต่อีกส่วนหนึ่งจะทำแบบทฤษฎีใหม่ที่ขุดสระและแบ่งเป็นส่วนที่จะปลูกข้าว ปลูกไม้ยืนต้น ปลูกพืชสวน ”

“คนไทยจะกินข้าว ทำไมต้องไปเสียค่าน้ำมัน ในการขนข้าวเปลือกไปสีในเมือง และขนข้าวสารจากเมืองกลับมายังหมู่บ้าน ทำไมเราไม่คิดสร้างโรงสีชุมชนให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านเกษตรกรก็จะได้สีข้าวเอาไว้กินเอง แกลบที่ได้ ใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงหรือใช้หมักเป็นปุ๋ยคืนกลับสู่พื้นดินให้กับพืช ”

“...ให้ พิจารณาแก้ไขปัญหาของการขาดสารไอโอดีนของราษฎรโดยการสำรวจพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ ถึงปัญหา และความต้องการเกลือ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นที่จะมีปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกันโดยเฉพาะต้องสำรวจ เส้นทางเกลือ ว่าผลิตจากแหล่งใด ก็น่าที่จะนำเอาไอโอดีนไปผสมกับแหล่งผลิตต้นทางเกลือเสียเลยทีเดียว...”

“ ความจริงสระนี้เราทำไว้สำหรับเป็นบ่อเก็บน้ำ เพื่อเอามาล้าง กทม. แต่ก็ยังมีคนไม่สู้เข้าใจวัตถุประสงค์ ระยะหลังมีคนมาบอกว่าระดับน้ำต่ำกว่าคลอง 5 คลอง 6 ไปอีก ก็น่าแปลก ไปไปมามา สระน้ำเลยกลายเป็นแก้มลิง ที่ถูกต้องควรต้องระบายน้ำออก แต่เมื่อน้ำมันน้อยก็เลยไม่ต้อง พอน้ำเหนือไหลมาก็นำน้ำเข้ามาได้อีกมาก เป็นหลักการป้องกันน้ำท่วม เป็นการชะลอน้ำไว้ในระยะแรก เพื่อหาทางแก้ไขคิดการต่อไป แต่หากมีคนขอน้ำไปใช้ก็อาจไม่สะดวก เพราะบางเวลาเราต้องสูบออก ”

“ เมื่อดูแผนที่ ก็เห็นว่ามีที่แห่งหนึ่งที่ควรจะทำให้เป็นแก้มลิงได้ มีโดยธรรมชาติ คือ มีหนองใหญ่ หนองใหญ่นั้นเป็นที่กว้างใหญ่สมชื่อ แต่ก็ใหญ่ไม่พอเพราะมีการบุกรุกเข้าไปและตื้นเขิน ”

“ ...ให้พิจารณาดำเนินการพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่กวง พื้นที่จากหมู่บ้านศาลาปางสักไปจดขอบอ่างเก็บน้ำแม่กวง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้ให้ราษฎรทำกินเป็นการชั่วคราว ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (สทก.) แต่ยังมีการบุกรุกของราษฎร ดังนั้น ควรจะได้มีการปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร มีความชุ่มชื้นสามารถทำกินได้จะได้ไม่ทำการบุกรุกต่อไป รวมทั้งยังสามารถจัดเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนได้อีกด้วย... ”

“ ...ดิน ที่เปรี้ยว ก็คือที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นจังหวัดที่ชื่อนครนายก ไม่ใช่ นากรัฐมนตรีเป็นนายก คือว่านาเขายกภาษี เพราะว่าทุกปีผลผลิตจะไม่ได้ตั้งแต่สมัยเก่า แต่ถ้าหากว่าทำดินให้หายเปรี้ยว หรือหาวิธีที่จะทำกสิกรรมในที่ดินเปรี้ยวอย่างดี อย่างไรผลก็จะเป็นจังหวัดอาจเปลี่ยนชื่อจังหวัดเป็นนาสมบูรณ์ ที่นครนายกมีที่เป็นแสนไร่ ก็นายก ทั้งนั้น ถ้าสามารถที่จะทำการทดลองและเป็นตัวอย่าง เข้าใจว่าอาจทำให้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะว่าทางภาคใต้ได้ทำที่จังหวัดนราธิวาส เป็นพรุได้ชื่อว่าเปรี้ยวแท้ ๆ ได้ทำโครงการ สามารถที่จะปลูกข้าวและทำกสิกรรมในที่พรุแท้ ๆ โดยใช้วิธีขุดสระและกรุด้วยหินปูนและใส่หินฝุ่นเข้าไปเพื่อให้น้ำไม่เปรี้ยว แล้วส่งไปตามคลองตามท่อก็ได้ผล จนกระทั่งเห็นว่าชาวบ้านที่ตรงนั้น หมู่บ้านแถวนั้นเคยจนไม่มีกิน บัดนี้เริ่มยิ้มแย้มแจ่มใสเพราะทำกสิกรรมได้ผล... ”

“...บริเวณพื้นที่ใหม่นี้ ให้ปลูกข้าวเป็นหลัก ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผลแซมบ้าง เพื่อให้ชาวบ้านมีข้าวกินก่อนไม่ต้องซื้อ ประชาชนมีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ ลองทำให้เหมือนของเขา พื้นที่แห้งแล้งขาดน้ำแต่ละแปลงให้มีน้ำของเขา แล้วก็สูบน้ำมาใช้ พื้นที่ของชาวบ้านถ้าทำคล้ายๆ โครงการฯเขาจะอยู่ได้ ไม่ต้องให้เป็นศูนย์ศึกษา อยากเป็นแปลงทดลองว่าจะทำอย่างนี้ ชาวบ้านทำได้ไหม ราชการจะช่วยอะไรบ้าง เช่น ขุดสระให้ในพื้นที่ 3,000 ไร่ ทำได้ 200 บ่อ แต่ต้องดูพื้นที่ที่เหมาะสมด้วย ตอนแรกก็ปลูกข้าวก่อน ที่หลังก็ปลูกไม้ผล ตกลงเราก็สนับสนุนได้.. ตกลงเอาแปลงที่ 3 เพื่อพิสูจน์ว่า ราษฎรทำได้ไหม ให้วัด โรงเรียน ราชการและมูลนิธิร่วมกัน โครงการฯนี้เป็นโครงการที่สามารถผนึกกำลัง ต้องไม่ลงทุนมากนัก ทำเหมือนชาวบ้านทำ ยอมให้เสียไปบ้าง ถ้าลงทุนทำมากไป หลวงจะทำได้ แต่ชาวบ้านทำไม่ได้...”

“การใช้วิธีทางธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้เครื่องเติมอากาศลงไปในน้ำ โดยทำเป็นระบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon)”

“...เดิมเป็นป่าโปร่ง คนไปตัดไม้สำหรับเป็นฟืนและใช้พื้นที่สำหรับทำการเกษตร ป่าไม้ที่อยู่เหนือพื้นที่ถูกทำลายไปมากจึงไม่มีน้ำในหน้าแล้ง น้ำไหลแรงในหน้าฝน ทำให้มีการซะล้าง (erosion) ผิวดิน (top soil) บางลงและเกลืออยู่ข้างใต้ จะขึ้นเป็นหย่อมๆ...”

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้