โครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระปรีชาสามารถในศาสตร์ต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เช่น โครงการเกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า และวิศวกรรม โดยการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวจะมีหน่วยงานพิเศษของทางราชการเป็นตัวกลางในการประสานงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 
 
โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า

  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จ.สกลนคร
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จ.เพชรบุรี เน้นเรื่องป่าเปียก, ป่าชายเลน
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี เน้นเรื่องสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลนและโครงการอนุรักษ์หญ้าทะเล
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ เน้นเรื่องทฤษฏีการปลูกป่า 3 อย่าง
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จ.ลำพูน เน้นเรื่องการพัฒนาและฟื้นฟู
  • โครงการห้วยองคต จ.กาญจนบุรี เน้นเรื่องการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม (rehabilitation)
  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เน้นการรักษาสภาพป่าชายเลนโดยวิธีทางธรรมชาติ
  • โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
  • โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จ.เชียงใหม่และลำพูน เน้นการปลูกป่า การทำแนวกันไฟ
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
  • โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยธรรมชาติและป่าพรุสิรินทร

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน

  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส
  • โครงการศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่อาว จ.ลำพูน
  • โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี
  • โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จ.นครนายก
    - แนวพระราชดำริ "แกล้งดิน"
    - แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการนำ "หญ้าแฝก" มาใช้ป้องกันการพังทลายของดิน
    - แนวพระราชดำริ "ห่มดิน" เพื่อการฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพ 

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ

  • โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี,จ.สระบุรี
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จ.ลำพูน
  • โครงการห้วยองคต จ.กาญจนบุรี
  • โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก
  • โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จ.เชียงใหม่,จ.ลำพูน
  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี
  • โครงการน้ำดีไล่น้ำเสียตามคลองต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
  • โครงการบำบัดน้ำเสียโดยใช้พืช บึงมักกะสัน จ.กรุงเทพมหานคร
    - แนวพระราชดำริ "แก้มลิง"
    - "ฝนหลวง"
  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เน้นการบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยวิธีทางธรรมชาติ
  • โครงการผันน้ำเข้าที่ส่วนพระองค์ บริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา
  • โครงการป้องกันน้ำท่วมด้วยการเบี่ยงน้ำ คลองลัดโพธิ์ กรุงเทพมหานคร
  • โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยทอน จังหวัดหนองคาย
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี 

โครงการทางด้านวิศวกรรม

  • โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
  • โครงการสะพานพระราม 8
  • โครงการด้านการจราจร เกี่ยวกับการขยายถนนคอขวดจุดต่างๆ
  • ไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์จากพืชของไทย
  • กังหันชัยพัฒนา
  • ฝายแม้ว หรือการจัดทำฝายชะลอน้ำ เพื่อฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม

แนวพระราชดำริอื่นๆ

  • แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
  • แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
  • โรงเรียนกาสรกสิวิทย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาสภาพเน่าเสียของแหล่งน้ำต่างๆ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าว เมื่อ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย รู้จักกันดีในชื่อ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

"ชั่งหัวมัน" หมายถึง การชั่งน้ำหนักมันเทศ ..ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทรงมีพระราชประสงค์ให้นำมันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวาย วางไว้บนตาชั่งแบบโบราณ แล้วพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ พอพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังพระราชวังไกลกังวล จึงพบว่ามันเทศที่วางบนตัวชั่งมีใบงอกออกมา จึงรับสั่งให้นำหัวมันนั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หาพื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศ..

ปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผงและวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศ เป็นต้นว่าบนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันของร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ หญ้าแฝกมีหลักวิธีดังนี้ จะช่วยการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่มชื้นในดิน เก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่าง ๆ ไม่ให้ไหลลงในน้ำ ซึ่งจะอำนวยผลประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนการฟื้นฟูดินและป่าไม้ให้สมบูรณ์ขึ้น

แนวคิดโครงการแก้มลิงเกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำรัสถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมาก ๆ โดยมีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"

แนวพระราชดำริแกล้งดิน มาจากการเลียนแบบสภาพธรรมชาติของพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีฤดูแล้ง 4 เดือน ฤดูฝน 8 เดือน การทดลองใช้วิธีร่นระยเวลาช่วงแล้งและช่วงฝนในรอบปีให้สิ้นลง ปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน ปีหนึ่งจึงมีภาวะดินแห้งและดินเปียก 4 รอบ เหมือนมีฤดูแล้งสลับฤดูฝนปีละ 4 ครั้ง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้