บทความทั้งหมด

“…พื้นที่ของสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนา ประกอบด้วย การชลประทานสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ และกิจกรรมอื่นๆ ตามความจำเป็น โดยจัดราษฎรที่ทำกินอยู่พื้นที่นี้แล้วให้เข้าเป็นสมาชิกโครงการด้วย…”

“…เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้นมีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง…ถ้าช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้างเขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการสูบฝิ่นและค้าฝิ่นได้ผลดี...”

“…ให้คงวิธีการศึกษานอกระบบตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการให้เป็นแม่แบบตลอดไป ควรสำรวจที่ดินไว้เพื่อการเกษตรโดยดำเนินการควบคู่ไปกับโรงเรียนช่างเครื่องยนต์การเกษตร ให้ผู้เข้ารับการศึกษาเรียนเกษตรควบคู่กับหลักสูตรช่าง เพื่อให้ลูกพระดาบสสามารถเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรถวายเป็นอาหารแก่พระดาบสและเป็นอาหารเลี้ยงตนเอง…”

“…ควรเปิดโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนเนื้อที่ประมาณ 102,000 ไร่ โดยมีคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่างๆ และกำหนดพื้นที่โครงการฯ ออกเป็นเขตให้สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการพัฒนารูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมคือ เขตพัฒนาอาชีพเสริม เขตพัฒนาการเกษตร และเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่า…”

“…การพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์หลายอย่าง ข้างบนที่คลองแฆแฆเป็นน้ำกร่อยถ้าทำโครงการแล้วทั้งหมดจะเป็นน้ำดีใช้การได้ คลองที่ขุดในพื้นที่พรุจะเป็นอ่างเก็บน้ำจืดที่สำคัญและบางส่วนจะช่วยไม่ให้พรุแห้งช่วยป้องกันไฟไหม้ราษฎรจะได้ประโยชน์…”

“…ให้จัดทำโครงการป่าสิริเจริญวรรษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่บริเวณเขาชีโอน จ.ชลบุรี จำนวน 360 ไร่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535…”

“…เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง…”

“...พื้นที่นี้มีภูมิอากาศหนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่จากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512...”

“…การปรับปรุงดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดิน ซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ ไม่ให้ไถ หรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้น ที่ยังเหลืออยู่ เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื้นของผืนดิน…”

“…ให้จัดตั้งโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ขึ้นในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่มีฐานะยากจนไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง โดยให้ถือครองที่ดินเพื่อพักอาศัยและทำการเกษตรในรูปแบบหมู่บ้านสหกรณ์…”

“…ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ จังหวัดสกลนคร-นครพนม เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรบริเวณสองฝั่งของลำน้ำก่ำที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน และขาดแคลนน้ำทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง…”

“…ให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืชผักและผลไม้เมืองหนาว…”

การแก้ไขปัญหาการระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในการร่วมกันรักษาความสะอาดตามคูคลองต่างๆ รวมถึงเรื่องการรื้อถอนบ้านเรือนประชาชนที่มาสร้างรุกล้ำริมคลอง ก็ดำเนินการควบคู่กันไป เมื่อไม่นานมานี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมคลอง 1 บริเวณพื้นที่สาธารณะ ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้รับการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัยแหล่งใหม่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย ได้มีการจัดทำโครงการปทุมธานีโมเดลขึ้น โครงการพัฒนาชุมชนริมคลองต่างๆ เห็นได้ว่าเกิดประโยชน์มากที่ประชาชนได้รับผลประโยชน์ อันดับแรกคือการปรับปรุงภูมิทัศน์ ความสะอาดการถูกสุขลักษณะสุขอนามัยและที่สำคัญประชาชนที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ผิดกฎหมายได้มีที่อยู่ที่มีความมั่นคง แข็งแรง และถูกกกฎหมาย มีความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย ก็จะช่วยให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรงมากขึ้น และจะสามารถสร้างความมั่นคงในด้านอื่นๆต่อไปได้

ผักตบชวามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และรวมกลุ่มกันหนาแน่นก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำที่ขวางทางไหลของน้ำและการขนส่งคมนาคมทางน้ำ จากกรณีปัญหาผักตบชวาทำให้ลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางช่วงไหลผ่านอำเภอท่าตูมและอำเภอรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์ซึ่งครอบคลุมพื้นที่แหล่งน้ำ 9 แหล่งจำนวนทั้งหมด 29 หมู่บ้าน เกิดการตื้นเขินและปัญหาการขาดแคลนรายได้ของคนในชุมชน ทำให้ชาวบ้านอำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีความสนใจที่อยากจะเปลี่ยนผักตบชวาวัชพืชไร้คุณค่าให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชน ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารปลอดภัยและสมุนไพรพื้นอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเห็นว่าในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค covid-19 ชาวบ้านจำนวนมากเดินทางกลับมาบ้านเกิด จึงเป็นช่วงสำคัญที่จะร่วมมือกันสร้างโอกาสท่ามกลางวิกฤตให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารปลอดภัยและสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นชุมชนมีภูมิปัญญาที่เป็นของตัวเองสำหรับใช้ในการจัดการกับวัชพืช ได้นำความรู้เหล่านั้นมาสร้างเป็นผลผลิตหรือนำมาประกอบอาชีพจนเกิดเป็นรายได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นว่าชุมชนมีแกนนำที่ดี มีผู้คนที่ให้ความร่วมมือ มีเครือข่ายอาหารปลอดภัย ไปจนถึงมีศูนย์เรียนรู้ที่เป็นมรดกของพื้นที่ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง

ความเข้มแข็งในชุมชนก็คือ การสร้างกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งนี้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดนราธิวาส จัดโครงการประชาร่วมใจสร้างไทยเป็นหนึ่ง ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงตลาดในชุมชนตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองนำมาเผยแพร่ให้กับประชาชนที่สนใจในการทำการเกษตรและปศุสัตว์ให้เกิดความรู้และนำความรู้ที่ได้รับนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อที่ประชาชนจะได้ไม่ทอดทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองและนำความรู้ไปขยายผลเพื่อพัฒนาในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างยั่งยืน

“…ให้สร้างสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรมเชื่อมถนนพระรามที่ 3 ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนสุขสวัสดิ์ (สะพานภูมิพล 1) เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ (สะพานภูมิพล 2) เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและการขนส่งสินค้า…”

ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกันอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพราะเห็นว่าหากคนไทยทุกคนได้ร่วมมือกันช่วยชาติ พัฒนาชาติด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกันแล้ว ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าอย่างมาก

การอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนพึงมีพึงปฏิบัติให้เป็นปกติวิสัยซึ่งทำให้สังคมมีความสมานสมานฉันท์ ทรงปฏิบัติให้เห็นมาโดยตลอด ทรงอ่อนน้อมมาก เวลาที่เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎร ทรงโน้มพระวรกายไปหาประชาชน คุกเข่าหน้าประชาชน ถามทุกข์สุข ปรึกษาหารือเป็นชั่วโมงๆ ประชาชนนั่งพับเพียบ พระองค์ท่านก็ทรงทรุดพระวรกายนั่งพับเพียบบนพื้นเดียวกัน

ความเพียรเป็นคุณสมบัติที่จะทำให้งานสำเร็จ ต้องมีความมุ่งมั่น โดยเฉพาะการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทรงปฏิบัติให้เห็นโดยทรงเรือใบจากวังไกลกังวลข้ามอ่าวไทยขึ้นฝั่งที่สัตหีบ ทรงใช้เวลาเดินทาง ๑๗ ชั่วโมงบนเรือขนาดยาวเพียง ๑๓ ฟุต ลำเรือแคบ ๆ ทรงแสดงให้เห็นถึงการใช้ความเพียรในการทำงานให้สำเร็จ

“รู้ รัก สามัคคี” เป็นพระราชดำรัส ที่มีค่าและมีความหมายลึกซึ้ง พร้อมทั้งสามารถปรับใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศชาติเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบ จำเป็นต้องทุ่มเทกำลังความสามารถเข้าไปแก้ไข จะหยุดการทำงานไม่ได้ จึงต้องทำเรื่อยๆ ไม่สามารถหยุดงานช่วยเหลือประชาชนได้ โดยพระองค์ทรงงงานมาตลอด 70 ปี “หลักสังฆทาน” มีความหมายคือ “ให้เพื่อให้” เป็นการให้โดยไม่เลือก ไม่หวังผลตอบแทน และไม่เลือกปฏิบัติ

ความสุขเป็นเรื่องของการทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น ซึ่งความสุขที่แท้จริงคือ การทำประโยชน์ให้ผู้อื่น มิใช่ทำให้ตนเองเพียงเท่านั้น ต้องสร้างประโยชน์กับคนอื่น เมื่อคนอื่นมีความสุขแล้วเราก็มีความสุขด้วย โดยความสุขของผู้อื่น คือความสุขส่วนรวมนั่นเอง เราต้องยึดประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนประโยชน์ส่วนตน

การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่งจะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร และแผนที่ ตลอดจนสอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง รวมทั้งศึกษาตรวจสอบและทอดพระเนตรในพื้นที่จริง เพื่อที่จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องรวดเร็วตรงตามความต้องการของประชาชน และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม

ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ดังพระราชดำรัสว่า “ระเบิดจากข้างใน” หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัว หรือตั้งตัว อย่าให้โดยที่ผู้รับยังไม่พร้อมที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

ในการทรงงานพระองค์จะทรงเริ่มต้นจากสิ่งจำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นจะเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ

การพัฒนาใด ๆ ต้องคำนึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอของคน ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน และใช้หลักในการปรับตัวให้อยู่กับธรรมชาติให้ได้

ในการที่จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้น จะทรงมองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง อย่างครบวงจร ทรงเรียกวิธีนี้ว่า องค์รวม (Holistic) หมายถึง การมองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแบบบูรณาการ และกำหนดแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง โดยพิจารณาครบทุกด้านของปัญหา พร้อมแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยงกันเป็นระบบ

ในเรื่องของความประหยัดนี้ ประชาชนชาวไทยทราบกันดีว่าเรื่องส่วนพระองค์ทรงประหยัดมากดังที่เราเคยเห็นว่า หลอดยาสีพระทนต์นั้นทรงใช้อย่างคุ้มค่าอย่างไร หรือฉลองพระองค์แต่ละองค์ทรงใช้อยู่เป็นเวลานาน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้