บทความทั้งหมด

การพัฒนาเพื่อการอยู่ดีกินดีของประชาชนนั้น อย่าไปนึกหวังกำไรหรือผลตอบแทนแต่อย่างเดียว ทำอะไรต้องลงทุนลงแรงและปัจจัยบางอย่างเสียก่อนเพื่อสร้างผลกำไรในอนาคต คือ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

ป่าไม้เป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตมนุษย์ หากไม่มีการปลูกจิตสำนึกในการรักษาป่าไม้ให้กับทุกคนแล้ว จะทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นไปด้วยความยากลำบาก เจ้าหน้าที่ของรัฐดูแลรักษาป่าไม้ด้วยหน้าที่พึงกระทำ แต่ชาวบ้านจะสามารถดูแลและหวงแหนป่าไม้ด้วยจิตสำนึกเพื่อรักษาปัจจัยแห่งชีวิตของตนเอง

ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองเห็นถึงปัญหาของธรรมชาติได้อย่างละเอียด หากเราต้องการแก้ไขปัญหาธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดน้ำเสีย ด้วยการใช้ น้ำดีไล่น้ำเสีย โดยอาศัยหลักแรงโน้มถ่วงตามธรรมชาติ (Gravity Flow)

ทรงนำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติให้เข้าสู่ปกติ ทรงคิดค้นวิธีบำบัดน้ำเสียโดยใช้ผักตอบชวาดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ และเป็นที่มาของ “อธรรมปราบอธรรม”

ทรงเห็นว่าการทำงานทุกอย่างของเรานั้นมีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมืองและประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ทุก ๆ ประการให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ โดยเต็มกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ การปฏิบัติพระราชกรณียกิจและการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกรทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ในเบื้องต้นเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้ประชาชนมีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ และขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักความคิดที่จะดำเนินการเรื่องต่าง ๆ เพื่อนำชีวิตไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน เสมือนเป็นการวางฐานรากของตัวอาคาร

เข้าใจ : ทำอะไรต้องเข้าใจปัญหา เข้าใจหนทางแก้ไข เข้าใจกระบวนการจัดการ และปรับความเข้าใจระหว่างผู้ให้ ผู้รับเสียก่อน ให้เข้าใจซึ่งกันและกัน เข้าถึง : เมื่อเข้าใจระหว่างกันทุกประการครบถ้วนแล้ว ต้องเข้าถึงการกระทำ สร้างความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง เข้าถึงเครื่องไม้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ และความสามัคคีร่วมจิตร่วมใจของผู้ปฏิบัติ ร่วมมือร่วมไม้กันทำงาน พัฒนา : เมื่อต่างฝ่ายต่างเข้าใจกันแล้ว เข้าถึงกันแล้ว การพัฒนาก็จะดำเนินการไปอย่างยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบที่ติดลบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเมือง หากแต่นำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน

ทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่การแก้ไขปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็ก ๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม

การพัฒนาตามแนวพระราชดำริมีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลม และรอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน

ในการทรงงานพระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมกันแสดงความคิด หรือที่เรียกประชาพิจารณ์เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของประชาชน โดยให้เอาชาวบ้านเป็นครู

ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่พอกิน” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป การดำเนินชีวิตให้พออยู่พอกินนั้น ต้องมีทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ต้องอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ หากขาดแคลนจะทำให้ไม่เพียงพอ อดอยาก ไม่มั่นคงในชีวิต จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกวันแต่ทรัพยากรลดลงทุกที ภาวะขาดแคลนย่อมเกิดขึ้น ทรงแก้ไขปัญหาทุกด้านเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติทรงฟื้นฟูและรักษาความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไปเพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น เพราะเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์

การบริการรวมที่จุดเดียวสำหรับเกษตรกรเป็นรูปแบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Services ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนที่จะมาขอใช้บริการ จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นต้นแบบในการบริการรวมที่จุดเดียว ซึ่งมีหน่วยงานราชการต่าง ๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการประชาชน ณ ที่แห่งเดียว

การทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพต้องอาศัยจิตใจเป็นเรื่องสำคัญ ต้องสร้างบรรยากาศรอบตัวให้มีความสุข ไม่เครียด ทรงมีพระราชดำรัสว่า ทำงานต้องสนุกกับงานมิฉะนั้นเราจะเบื่อและหยุดทำงานในระยะต่อมา ดังนั้นปัจจัยของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ คือ ร่าเริง รื่นเริง คึกคัก ครึกครื้น

การแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเหมือนการเข้าสู่สงครามที่ไม่ได้ใช้อาวุธในการแก้ไขปัญหา แต่ใช้การพัฒนาเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาต่างๆ และ ทุกครั้งที่สามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ จึงถือเป็นการได้รับชัยชนะโดยการพัฒนา

จังหวัดราชบุรีมีสินค้าการเกษตรที่มีชื่อเสียงหลายชนิด หนึ่งในนั้นที่คนทั่วไปรู้จักกันก็คือ “สับปะรดบ้านคา” ซึ่งเป็นสับปะรดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเกษตรกรที่นั่นมีการรวมกลุ่มกันทำการเกษตรแปลงใหญ่ มีระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าที่ได้รับเครื่องหมาย GAP ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ช่วยลดผลกระทบจากปัญหาความผันผวนด้านราคาอีกด้วย รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 15 เมษายน 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มวัดท่าบางศรีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าการออกแบบตัดเย็บเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทยนั้นมีความทันสมัย และได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะผ้าไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นผืนผ้าที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ แม้แต่เศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บก็สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ที่สวยงามได้อีกด้วย นับว่าเป็นผลงานที่ต่อยอดมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สามารถเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ภายในชุมชน โดยที่ไม่ทำลายธรรมชาติอีกด้วยซึ่งกลุ่มชุมชนวัดท่าบางสีทองนี้ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สามารถครองใจลูกค้ามาอย่างยาวนาน ด้วยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาดอยู่เสมอ รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT

ธนาคารคัดแยกขยะประกันชีวิต อ.บางบัวทอง การกำจัดขยะมูลฝอยถึงเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกประเทศทั่วโลก ให้ความสำคัญและมีความพยายามสร้างจิตรสำนึกที่ดีให้แก่ประชาชนในการช่วยกันลดปริมาณขยะ และสร้างนิสัยคัดแยกขยะก่อนทิ้ง องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี เป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนคัดแยกขยะด้วยแนวคิดเปลี่ยนขยะให้เป็นหลักประกันของครอบครัว รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสารภี จ.สมุทรสงคราม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี มีการเลี้ยงไก่ชิงช้าสวรรค์หนึ่งเดียวในประเทศ และประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ที่สร้างเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้เด็กและเยาวชน จุดเด่นของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี คือการใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร อยู่ภายในพื้นที่เพียง 1 ไร่ ซึ่งสามารถเลี้ยงสัตว์ทำปุ๋ยชีวภาพและสร้างแหล่งพลังงานไว้ในครัวเรือนได้

ฟาร์มเห็ดป้านา อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ชุมชนบ้านคลองขวางบนได้รับเลือกจากกรมการพัฒนาชุมชนให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงในปี 2558 ในฐานะชุมชนท่องเที่ยวเชิงธรรมชาตินิเวศน์อนุรักษ์ซึ่งนอกจากชาวบ้านที่นั่นจะมีรายได้จากการเพาะเห็ดและการทำผลิตและสินค้าเกษตรแปรรูปแล้วรายได้อีกทางหนึ่งก็คือรายได้จากการท่องเที่ยววิถีชุมชนซึ่งเป็นเสมือนกำไรที่ได้จากต้นทุนของพวกเขานั่นเอง รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ชุมชนต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการขยะชุมชน ของจังหวัดอุดรธานี ชุมชนแสงทองเทศบาลเมืองหนองสำโรง พวกเขาเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมโดยการจัดการขยะอย่างถูกวิธี และเรียนรู้ที่จะเพิ่มมูลค่าของขยะ โดยให้แต่ละบ้านคัดแยกขยะและนำขยะมาขายในรูปแบบของการออมเงินซึ่งถึงว่าเป็นแนวคิคจัดการขยะ แรงจูงใจให้กับคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของตนเองได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีแนวคิดนำการส่งเสริมการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ยมูลไส้เดือน และน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ซึ่งสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

นโยบายการส่งเสริมให้เกษตรลดพื้นที่ปลูกยางพารา นโยบายการส่งเสริมให้เกษตรลดพื้นที่ปลูกยางพารา อย่างที่ท่านเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้อธิบายว่า จุดประสงค์ของการลดพื้นที่ปลูกยางพารา หลักๆนั้น ก็เพื่อต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะปลูกยางพารา เพราะนอกจากเกษตรกรจะได้จำนวนผลผลิตต่อไร่ที่ต่ำแล้ว ยังมีต้นทุนที่สูง ซึ่งไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนในระยะยาวเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลจึงสนับสนุนให้เกษตรกรสมัครใจที่จะเปลี่ยนพื้นที่ปลูกยางพาราไปทำเกษตรอย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยไม่ได้โค่นต้นยางทิ้งไปเฉยๆ แต่รัฐบาลจะสนับสนุนค่าตัดโค่นต้นยางให้กับเกษตรกร และยังร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่อบรมความความรู้ทางด้านอาชีพอื่นๆให้อีกด้วย โครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT  ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ศูนย์การเรียนรู้การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ บ้านห้วยสำราญ จ.อุดรธานี รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT 

การขับเคลื่อนการผลิตข้าวอินทรีย์ให้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT  ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

สวนผักปากช่องฟาร์ม มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับงานด้านการเกษตรในกระบวนการการผลิต จนสามารถเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมส่งเสริมการเกษตร จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร ให้เกษตรรุ่นใหม่มาเรียนรู้และศึกษาดูงานด้านการทำสวนผักปัจจุบัน สวนผักปากช่อง ฟาร์ม ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้เกษตร หรือ ศพก.ของกรมส่งสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกด้วย

การเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีสายพระเนตรที่กว้างไกล อยากให้มีอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน และบริโภคอาหารที่มีประโยชน์อย่างน้ำนมโค จึงทรงมีพระราชดำรินำอาชีพการเลี้ยงโดนมเข้ามาในเมืองไทยเป็นครั้งแรกและสนับสนุนให้เกษตรกร ไทยเลี้ยงโคนม ทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย เพื่อไม่ต้องถางไม้ทำลายป่า และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งซึ่งสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด จ.สกลนคร ได้มีแนวทางพัฒนาบริการจัดการ โคนมโดยน้อมนำศาสตร์พระราชา ว่าด้วยการร่วมกลุ่มเกษตรกรและจัดตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้นมาปัจจุบันนี้ มีสมาชิกกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนม 17คน ทางสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด ยังได้การรวบรวมน้ำนมดิบจากสมาชิกเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นมเพื่อจำหน่าย 2 ชนิด ได้แก่ นมพาสเจอร์ไรส์ และนมยูเอชที ซึ่งจะมีการจำหน่ายให้กับโรงเรียนเป็นหลัก เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรอีกช่องหนึ่ง การที่ผลิตภัณฑ์นมจะ ไดรับความเชื่อถือในด้านคุณภาพ จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์การแปรรูปทันสมัย เพื่อตรวจสอบและ ขนถ่ายสินได้โดยที่ผลิตภัณฑ์นมยังคงมีคุณภาพดี ซึ่งสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัดได้รับสนับสนุนอุปกรณ์ ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรกร จากโครงการไทยนิยม 3 รายการ ได้แก่ เครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพนม,รถห้องเย็นสำหรับขนส่งผลิตภัณฑ์ และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์พร้อมอุปกรณ์สำหรับโรงงานผลิตนม ทำให้เกษตรผู้เลี้ยงโคนมสามารถจำหน่ายผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวรรค์บ้านนา จ.นครสวรรค์ รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้