ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ จังหวัดเชียงใหม่

Last updated: 30 ส.ค. 2565  |  6514 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ จังหวัดเชียงใหม่

    “...ให้ตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถขึ้น เพื่อทำหน้าที่ให้การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา การปลูกพืชเขตหนาวชนิดต่าง ๆ ลดการใช้สารเคมี การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนพื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้มีความอุดมสมบูรณ์...” 

พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

ประวัติความเป็นมา

    วันที่ 15 ธันวาคม 2514 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชดำเนินพร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินถึงหมู่บ้านแม่โถ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ณ ลานเฮลิคอปเตอร์นายถวัลย์ถาวรสันต์นายอำเภอฮอดกราบบังคมทูลรายงาน แล้วเบิกนายนุสิตจินดาศรีนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยชาวเขากรมประชาสงเคราะห์นายโต้ง เล่าห่าง ผู้ใหญ่บ้านแม่โถ และนายหญี่ เล่าห่าง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เฝ้าฯ ต่อจากนั้น เสด็จฯ ถึงหมู่บ้านแม่โถ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร พระราชทานกิ่งแอปเปิ้ล สำหรับปลูกขยายพันธุ์แก ่ชาวเขา กับได้พระราชทานพระราชกระแสกับผู้ใหญ่บ้านแม่โถ ในอันที่จะจัดส่งวัว แกะ และมาพระราชทานเพื่อใช้เลี้ยงแพร่พันธุ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานเสื้อผ้าขนม ดินสอแก่นักเรียนชายหญิงโรงเรียนแม่โถหลวง จำนวน 36 คน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ไปตามไหล่เขาเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อจากนั้น เสด็จทอดพระเนตรไร่ถั่วคิดนี่แดงถั่วพินโถและถั่วไลมาซึ่งพระราชทานแจกจ่ายให้ชาวเขาเป็นจำนวนสองตันครึ่ง เพื่อใช้เพาะปลูกแทนการปลูกฝิ่น ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นที่พอพระราชหฤทัย เพราะถั่วทั้งสามพันธุ์เหมาะแก่การสภาพภูมิประเทศและอากาศบนเขา และมีราคาจำหน่ายสูงในท้องตลาด

    วันที่ 5 มกราคม 2516 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินถึงหมู่บ้านแม่โถ หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ แล้วเสด็จฯ ไปยังหมู่บ้าน ซึ่งมีชาวเขาเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่ มีแม้วลาย 786 คน กะเหรี่ยง 181 คน ฮ่อ 32 คน ณ ที่นั้น นายอำเภอ ไทยานนท์ นายอำเภอฮอด กราบบังคมทูลรายงาน และเบิกนายเล่าโต้ง แซ่ห่าง ผู้ใหญ่บ้าน แม่โถ และนายเล่ายี่ แซ่ห่าง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เข้าเฝ้าฯ ที่หมู่บ้านแม่โถนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานวัวพันธุ์บรามัน 2 ตัวและห่าน 10 ตัว เพื่อใช้เลี้ยงแพร่พันธุ์แก่ชาวเขา ในการนี้พระราชทานกระแสพระราชดำริว่าสำหรับวัวพันธุ์บรามันเมื่อนำไปผสมพันธุ์วัวพันธุ์พื้นเมืองออกมาแล้วจะสามารถนำออกจำหน่ายได้ราคาที่สูงกว่าวัวพันธุ์พื้นเมืองมากส่วนห่านนั้น การเลี้ยงง่ายไม่ต้องเสียค่าอาหาร เพียงแต่ปล่อยให้กินหญ้าซึ่งมีอยู่ทั่วไปอาจฟักไข่เอง และใช้บริโภคโปรตีนสูง ในโอกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานผ้าเช็ดตัว สมุด ดินสอ และขนมหวานให้แก่เด็กๆ อีก 300 คน ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร เสด็จไปทอดพระเนตรธนาคารข้าวซึ่งตั้งขึ้นเพื่อให้ชาวเขายืมไปบริโภคและปลูก

    วันที่ 19 มกราคม 2519 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ถึงสถานีโครงการหลวงพัฒนาชาวเขาหมู่บ้านแม่โถ ตำบลบ่อสลีอำเภอฮอด ทรงพระราชดำเนินทอดพระเนตรแปลงสาธิตพืชไร่พืชผัก พืชยา พืชสวน นายสมบัติศรีชูวงศ์หัวหน้าสถานีฯกราบบังคมทูลว่า แปลงถั่วปากอ้าเป็นโรคเพลี้ย แต่ก็ได้ทำการพ่นยากำจัดแมลงแล้ว ปัญหาอื่นๆ ก็คือ ขาดแคลนปุ๋ยชนิดต่างๆสำหรับพืชแต่ละชนิดซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีกระแสพระราชดำรัสว่า ต้องรีบควบคุมโรคดังกล่าวไม ่ให้แพร่ขยายออกไปยังต้นอื่นๆ อันจะทำความเสียหายแก่แปลงทดลอง นอกจากนั้น ถ้าไม่รีบป้องกันอย่างจริงจัง โรคพืชอาจจะติดต่อไปยังสถานีฯ อื่นๆ ได้สำหรับปุ๋ยนั้นควรทำการวิจัยว่าพืชหรือวัสดุใดมีแร่ธาตุที่พืชแต ่ละชนิดต้องการ ซึ่งการใส่ปุ๋ยธรรมชาตินั้นทุ่นค่าใช้จ่ายกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาก จากนั้นทรงพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรแปลงทดลองปลูกดอกดาวเรือง ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเป็นไม้ดอกที่ทำรายได้ดีอีกชนิดหนึ่ง 

    เวลา 15.20 น. เสด็จพระราชดำเนินถึงโครงการพัฒนาป่าไม้หน่วยที่ 6 แม่โถตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด ณ ที่นั้น นายถนอม เปรมรัศมีรองอธิบดีกรมป่าไม้และนายอุทัย จันทร์ผกา หัวหน้ากองอนุรักษ์ต้นน้ำ กราบบังคมทูลรายงานทรงพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบริเวณที่จะทำการปลูกป่าทดแทน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีกระแสพระราชดำรัสกับหัวหน้ากองอนุรักษ์ต้นน้ำว่า การปลูกป่าทดแทนนั้น ควรพิจารณาใช้ไม้ยืนต้นหลายๆชนิดเพื่อประโยชน์ต่างๆกัน คือไม้ยืนต้นที่สามารถใช้เนื้อไม้ได้ใช้เป็นฟืนได้ตลอดจนไม้ผล และไม้ที่ช่วยอนุรักษ์ดิน

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2522 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินต ่อไปยังโครงการจัดหมู่บ้านหลวงพัฒนาชาวเขา ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำ ของกรมป่าไม้ได้พระราชทานสิ่งของและยารักษาโรค แก่ผู้แทนโครงการฯ ตลอดจนผู้แทนโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำ หน่วยต่างๆ ต่อจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังสำนักงานโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำ หน่วยที่ 6 ไปทรงเปิดป้ายงานจัดหมู่บ้านและพื้นที่ทำกินแบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งได้พัฒนาพื้นที่ไหล่เขาให้เป็นลักษณะขั้นบันไดเป็นเนื้อที่ 200 ไร่ เพื่อให้ราษฎรมีที่ทำกินอย่างพอเพียง โดยจะส่งเสริมให้ปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง และปลูกถั่วหมุนเวียน ตลอดจนไม้ผลชนิดต่างๆ

    วันที่ 7 มีนาคม 2525 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 6 แม่โถ ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และกรมป่าไม้ ทรงพระดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวเขาเผ่าต่างๆ และสมาชิกโครงการฯ ที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ บริเวณบ้านจัดสรร ซึ่งโครงการฯ ได้จัดสร้างด้วยคอนกรีตบล็อก สำหรับให้ราษฎรที่เป็นสมาชิกโครงการฯ อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างถูกสุขลักษณะ และอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำกิน ซึ่งส่งเสริมให้ปลูกพืชทดแทน เช่น ถั่วแดง มันฝรั่งถั่วแขกข้าวโพดกาแฟ มะเขือเทศแคร์รอต พริกยักษ์ผักสลัดในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้คณะแพทย์ที่โดยเสด็จพระราชดำเนินจัดตั้งหน่วยแพทย์ชั่วคราว เพื่อตรวจรักษาราษฎรที่เจ็บป่วย และทรงรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์

    จนกระทั่ง ปีพ.ศ. 2539 มูลนิธิโครงการหลวง ได้พิจารณาเห็นว่าบ้านแม ่โถเป็นพื้นที่ปลูกกะหล่ำปลีเป็นจำนวนมาก และมีการใช้สารเคมีมากเช่นเดียวกัน จึงได้ตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ เมื่อปีพ.ศ. 2539 ที่บ้านแม่โถ หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำหน้าที่ให้การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาการปลูกพืชเขตหนาวชนิดต่างๆ ลดการใช้สารเคมีการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

 

การดำเนินงานด้านการส่งเสริม/การวิจัย

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ มุ่งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรในการเพาะปลูกพืชผักชนิดต่างๆ ภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย ได้แก่ ระบบการเพาะปลูกที่ดี (GAP) และส่งเสริมการปลูกไม้ดอก กาแฟ และเลี้ยงสัตว์สร้างรายได้ที่มั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่เกษตรกร มีจำนวนเกษตรกรที่เป็นสมาชิก จำนวน 203 ราย รวมทั้งการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังมีการส ่งเสริมการปลูกป ่าชาวบ้านตามแนวพระราชดำริป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก รณรงค์การลดการใช้สารเคมีและเฝ้าระวังการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของคนและชุมชนโครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติดการพัฒนาสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนชาวเขา รวมไปถึงการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรที่สูงแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป

 

ลักษณะทั่วไปของพื้นที่

      ที่ตั้ง : บ้านแม่โถ หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

      ภูมิประเทศ : ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนที่ราบตามหุบเขาและเชิงเขา พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง 800-1,200 เมตร

      การใช้ประโยชน์ที่ดิน : พื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด จำนวน 85.49 ตารางกิโลเมตร หรือ 53,433.59 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ป่าและภูเขา 40,298.59 ไร่ ร้อยละ 75 พื้นที่ทำการเกษตร 12,085 ไร่ ร้อยละ 23 และพื้นที่อยู่อาศัยและสาธารณะ 1,050 ไร่ ร้อยละ 2 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างดี

      ภูมิอากาศ : อุณหภูมิสูงสุด 35.9 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 6.6 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิ เฉลี่ยทั้งปี22.51 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,572 มิลลิเมตรต่อปี 

      การคมนาคม : ระยะทางจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงที่ทำการศูนย์ฯ แม่โถ ประมาณ 159 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 45 นาทีโดยเดินทางไปตามถนน เชียงใหม่-ฮอด ระยะทาง 88 กิโลเมตร ถึงอำเภอฮอด เลี้ยวขวาไปตามทางหลวง หมายเลข 108 ระยะทาง 55 กิโลเมตรถึงบ้านกองลอยเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง หมายเลข 1270 ระยะทาง 16 กิโลเมตร ถึงที่ทำการศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ

 

ข้อมูลหมู่บ้านและประชากร

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ มีที่ตั้งสำนักงานที่บ้านแม่โถ หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอดจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ส่งเสริม 5 หมู่บ้าน มีประชากร รวม 868 ครัวเรือน จำนวน 3,751 คน ซึ่งเป็นชนเผ่าม้งและกะเหรี่ยง

 

การปลูกพืช

    ผลผลิตหลัก ประกอบด้วยขึ้นฉ่าย, ปวยเหล็ง, เบบี้คอส, เบบี้ฮ่องเต้,ผักกาดขาวปลี,คะน้าฮ่องกง,ผลผลิตหลัก พืชผัก: ประกอบด้วยขึ้นฉ่าย, ปวยเหล็ง, เบบี้คอส, เบบี้ฮ่องเต้,ผักกาดขาวปลี,คะน้าฮ่องกง,คะน้าต้นปาล์ม, คอสสลัด, โอ๊คลีฟแดง, โอ๊คลีฟเขียว, ตั้งโอ๋, คอร์นสลัด, มิตซูน ่า,ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก,ร็อกเกตป่า,ร็อกเกตสลัด,ผักโขมคละสี,ผักโขมแดง,ผักโขมขาว,คราวน์เดซี่,ผักกาดกวางตุ้ง

    ผลผลิตรอง    

    1. ไม้ผล : ประกอบด้วย เสาวรสหวาน, อะโวคาโดแฮส, อะโวคาโดบัคคาเนีย, อะโวคาโด พิงค์เคอตัน, อะโวคาโดบูท7, เครปกูสเบอร์รี, องุ่นดำไร้เมล็ด

    2. ไม้ดอก : ประกอบด้วย อัลสโตรมีเรีย, เจอราเนียม

    3. กาแฟ

 

โครงสร้างพื้นฐาน

    ถนน เป็นถนนลาดยางตลอดระยะทาง

    ไฟฟ้า มีระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ในหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน

    น้ำ ประปาภูเขา 5 หมู่บ้าน/ชุมชนและมีแหล่งน้ำการเกษตร 5 หมู่บ้าน/ชุมชน แต่พบว่าขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคในฤดูแล้ง เนื่องจากแหล่งต้นทุนธรรมชาติไม่เพียงพอ จำนวน 1 หมู่บ้าน

    โทรศัพท์ 085-6233295

 

สภาพเศรษฐกิจสังคม

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรอาชีพหลักคือ การปลูกพืชผัก เช่น กะหล่ำปลี, ผักกาดขาวปลี, มะเขือเทศ, พืชไร่ ประกอบด้วย ข้าวไร่, ข้าวนาดำ และถั่วแดงหลวง รวมทั้งปลูกไม้ผล เช่น อะโวคาโด และส้ม และอาชีพรอง คือ เลี้ยงสัตว์และงานหัตถกรรม

    1. รายได้เฉลี่ย

        เกษตรกรมีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ประมาณ 130,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปีรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร

    2. การรวมกลุ่มเกษตรกร

        เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่โถ จำกัด, กลุ่มเยาวชน, กลุ่มทอผ้า และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    3. บริการสาธารณสุข

        ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม ่โถ มีการใช้บริการโรงพยาบาลฮอดและมีโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลให้บริการประชาชน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแม่โถ ซึ่งให้บริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านแม่โถ หมู่ที่ 1, บ้านแม่โถ หมู่ที่ 9, บ้านแม่แอบ หมู่ที่ 7 และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกองลอย ซึ่งให้บริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านกองลอย หมู่ที่ 4, บ้านอมลอง หมู่ที่ 2, บ้านดอกแดง หมู่ที่ 10

    4. ความช่วยเหลือจากภาครัฐ

        หน่วยงานราชการในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสลีรวมทั้งคณะทำงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ

    5. อาชีพหลักและอาชีพรองของเกษตรกร

        เกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์พืชที่ปลูกได้แก่กะหล่ำปลี, ผักกาดขาวปลี, มะเขือเทศ, พืชไร่ ประกอบด้วย ข้าวไร่, ข้าวนาดำ และถั่วแดงหลวงรวมทั้งปลูกไม้ผลเช่น อะโวคาโดและส้ม และอาชีพรองคือเลี้ยงสัตว์และงานหัตถกรรม

 

 

อ้างอิง :

 

 

 

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้