ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ จังหวัดเชียงใหม่

Last updated: 16 ส.ค. 2565  |  4554 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ จังหวัดเชียงใหม่

    “...มีรับสั่งให้ผู้อำนวยการโครงการหลวง จัดเจ้าหน้าที่เดินทางไปสำรวจสภาพพื้นที่หมู่บ้านม่อนเงาะ ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือชาวเขาเผ่าแม้วที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และได้ตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่นและพืชไร่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน...” 

พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ประวัติความเป็นมา

    บ้านม่อนเงาะมีชาวเขาเผ่าแม้วอาศัยอยู่ประมาณ 50 หลังคาเรือน ทำการประกอบอาชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น และในปีพ.ศ. 2527 มีตัวแทนของชาวบ้านได้มีหนังสือขอความช่วยเหลือหน่วยงานราชการด้านการปลูก
พืชเศรษฐกิจเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น

    ปีพ.ศ. 2528 ผู้อำนวยการโครงการหลวง มีรับสั่งให้เจ้าหน้าที่เดินทางไปสำรวจสภาพพื้นที่หมู่บ้านม่อนเงาะ ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม ่ ซึ่งมีชาวเขาเผ ่าแม้วอาศัยอยู ่ในพื้นที่และได้ตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่นและพืชไร่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะจึงเริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2528 เป็นต้นมาโดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆได้แก่กรมประชาสงเคราะห์กรมพัฒนาที่ดินเขต 6 และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

 

การดำเนินงานด้านการส่งเสริม/การวิจัย

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะได้ดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์และแผนงานโดย มุ่งเน้นพัฒนาด้านการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเน้นการส่งเสริมอาชีพ ภาคการเกษตรโดยได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกร
ในการเพาะปลูกพืชผัก ภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัยเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกิจกรรมทางด้านสังคมและชุมชนเน้นการพัฒนามุ่งด้านการบริหารการจัดการกลุ ่มองค์กรของชุมชน เช่น สหกรณ์การเกษตรกลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน เพื่อให้เป็นกลุ่มชุมชนที่มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเครือข่ายป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด กิจกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยได้ดำเนินงานด้านการปลูกป่าชาวบ้าน การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ลำธาร ปลูกป่าอนุรักษ์และการป้องกันไฟป่า โดยมีนักวิชาการจากส่วนกลางทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ และถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการไปสู่เจ้าหน้าที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง เพื่อถ่ายทอดสู่เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ มีประชากรที่ได้รับประโยชน์ 372 ครัวเรือน จำนวนประชากรรวม 486 คน

 

ลักษณะทั่วไปของพื้นที่

      ที่ตั้ง :  บ้านฮ่อมเฮี๊ยะ หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

      ภูมิประเทศ : มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 500-1,250 เมตรเป็นที่ลาดชันตามไหล่เขาพื้นที่ป่าเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขาและป่าเต็งรัง พรรณไม้ที่พบได้แก่ ทะโล้สารภีไม้แดงไม้ประดู่และไม้ตะแบก

      การใช้ประโยชน์ที่ดิน : พื้นที่ทั้งหมด 81 ตารางกิโลเมตร (50,625 ไร่)  พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 45,120 ไร่คิดเป็นร้อยละ 86 พื้นที่ทำการเกษตร 6,883.70 ไร่คิดเป็นร้อยละ 13.12 พื้นที่อยู่อาศัยและสาธารณะ 454.93 ไร่คิดเป็นร้อยละ 0.86 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลาง มีค่า pH 5.5-6.5

      ภูมิอากาศ : อุณหภูมิเฉลี่ย 7 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝน 1,380 มิลลิเมตรต่อปี

      การคมนาคม : การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ มีระยะทาง 65 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์1 ชั่วโมง 30 นาที

 

ข้อมูลหมู่บ้านและประชากร

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ มีพื้นที่ส่งเสริม 6 หมู่บ้าน (14 หย่อมบ้าน) มีประชากรรวม 504 ครัวเรือน จำนวน 1,710 คน ซึ่งเป็นชนเผ่าม้งและคนพื้นเมือง

 

การปลูกพืช

    ผลผลิตหลัก ได้แก่ ฟักทองญี่ปุ่น

    ผลผลิตรอง ได้แก่ เห็ดหลินจือ, ชา (เบอร์12, ก้านอ่อน, อัสสัม), กาแฟอาราบิกา, ไม้ดอก (ซิมบิเดี้ยม, รองเท้านารี, แวนด้า), ไม้ผล (เสาวรส, องุ่นดำไร้เมล็ด, อะโวคาโด)

 

โครงสร้างพื้นฐาน

    ถนน เส้นทางหลักเป็นถนนลาดยางก่อสร้างโดยกรมทางหลวงชนบท เส้นทางรองระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กก่อสร้างโดยองค์การบริหารส่วนตำบลถนน เส้นทางหลักเป็นถนนลาดยางก่อสร้างโดยกรมทางหลวงชนบท เส้นทางรองระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กก่อสร้างโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย

    ไฟฟ้า มีระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ในหมู่บ้าน จำนวน 18 หมู่บ้าน

    น้ำ น้ำบาดาลและประปาภูเขา 5 ชุมชน และประปาภูเขา 12 ชุมชน และมีแหล่งน้ำการเกษตร 17 ชุมชน แต่พบว่าขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคในฤดูแล้ง เนื่องจากแหล่งต้นทุนธรรมชาติไม่เพียงพอ

    โรงเรียน ระดับประถมการศึกษา (ป.1-ป.6) จำนวน 2 โรงเรียนและโรงเรียนขยายโอกาสการศึกษา(ระดับอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3) จำนวน 1 โรงเรียน

    โทรศัพท์ มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

 

สภาพเศรษฐกิจสังคม

     ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วนคือกลุ่มคนเมืองส่วนใหญ่มีอาชีพการปลูก ชาอัสสัมกาแฟ ส้มโอลิ้นจี่ชาจีน พื้นที่บางส่วนมีเอกสารสิทธิ์(สค.1)ส่วนกลุ่มชนเผ่าแม้วพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ทำการประกอบอาชีพการเกษตร ร่วมกิจกรรมกับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อาชีพหลัก คือ การปลูกพืชผักคือฟักทองญี่ปุ่น กะหล่ำปลีรูปหัวใจ ส้มเขียวหวาน รวมทั้งการปลูกไม้ผล คือ อะโวคาโด พลับ เสาวรส

    1. รายได้เฉลี่ย

        เกษตรกรมีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ประมาณ 95,241.32 บาทต่อครัวเรือนต่อปีรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร

    2. การรวมกลุ่มเกษตรกร

        เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร จำนวน 2 สหกรณ์กลุ่มออมทรัพย์ 4 กลุ่ม กลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่ม อสม. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

    3. บริการสาธารณสุข

        ใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ( รพ.สต.บ้านออบ)

    4. ความช่วยเหลือจากภาครัฐ

        หน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย

    5. อาชีพหลักและอาชีพรองของเกษตรกร

        เกษตรกรมีอาชีพหลัก คือ การปลูกพืชทางการเกษตร อาชีพรอง คือการรับจ้าง

 

 

อ้างอิง :

 

    

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้