ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง จังหวัดเชียงใหม่

Last updated: 2 ส.ค. 2565  |  7813 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง  จังหวัดเชียงใหม่

    “...ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ จำนวน 300,000 บาท สำหรับการก่อตั้งโครงการหลวงป่าเมี่ยง ในพื้นที่บ้านปางบง ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการทำสวนเมี่ยงที่มีราคาตกต่ำ...”

พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


ประวัติความเป็นมา

    เมื่อวันที่ พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่บ้านปางบง ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่มีอาชีพทำสวนเมี่ยง เนื่องจากเมี่ยง (ชา) มีราคาตกต่ำลง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ จำนวน 300,000 บาท สำหรับการก ่อตั้งโครงการหลวงป่าเมี่ยง วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่บ้านปางบง ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์สาธิตและส่งเสริมการเพาะเห็ดหอม และส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิกาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำเมี่ยง รวมถึงการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2526 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านปางบง พ.ศ. 2535 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านแม่ตอนหลวงและบ้านปางบง


การดำเนินงานด้านการส่งเสริม/การวิจัย

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง มุ่งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรในการเพาะปลูกกาแฟอาราบิกาภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย ได้แก่ ระบบมาตรฐานการเพาะปลูกพืชที่ดี(GAP) และส่งเสริมการปลูกไม้ผล เห็ดปศุสัตว์และชา สร้างรายได้ที่มั่นคง และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่เกษตรกร มีจำนวนเกษตรกรที่เป็นสมาชิก จำนวน 330 ราย นอกจากนี้ยังส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้านตามแนวพระราชดำริป่า 3 อย่าง ประโยชน์4 อย่างการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของดินและพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของคนและชุมชน โครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติดการพัฒนาสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน รวมไปถึงการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรที่สูงแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป


ลักษณะทั่วไปของพื้นที่

      ที่ตั้ง : บ้านปางบง 9/12 หมู่ที่ 1 ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

      ภูมิประเทศ : พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขามีภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ตามแนวลำห้วย และแม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำแม่หวาน แม่น้ำแม่ตอนแม่น้ำแม่วอง และแม่น้ำห้วยแก้ว ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 600-1,500 เมตร 

      การใช้ประโยชน์ที่ดิน : ประกอบด้วยพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 60,782.5 ไร่คิดเป็นร้อยละ 80.5 พื้นที่ทำการเกษตร 14,195.2 ไร่ ร้อยละ 18.85 และเป็นพื้นที่อยู่อาศัย 517 ร้อยละ 0.6 และพื้นที่สาธารณะ 94 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.1 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างดีมีปริมาณอินทรียวัตถุปานกลาง มีค่า pH ที่ 4.5-5.5

      ภูมิอากาศ  : อุณหภูมิสูงสุด 38 องศาเซลเซียสและต่ำสุดต่ำสุดเฉลี่ย 6 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิเฉลี่ย 23 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,230 มิลลิเมตร

      การเดินทาง : ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 เชียงใหม่–เชียงราย ห่างจากอำเภอดอยสะเก็ด ประมาณ 39 กิโลเมตร และแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1252 ปางแฟน – แจ้ซ้อน กิโลเมตรที่ 10 รวมระยะทางจากเชียงใหม่ถึงศูนย์ฯ ป่าเมี่ยงการเดินทางจากถึงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง มีระยะทาง 66 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์1 ชั่วโมง 30 นาที


ข้อมูลหมู่บ้านและประชากร

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง มีพื้นที่รับผิดชอบ 120 ตารางกิโลเมตร (75,506 ไร่) หมู่บ้านส่งเสริม 10 หมู่บ้าน (27 หย่อมบ้าน) มีประชากรในพื้นที่ส่งเสริม 860 ครัวเรือน 2,729 ราย นับถือศาสนาพุทธ และคริสต์เป็นชนเผ่าคนเมือง 10 หมู่บ้าน และกะเหรี่ยง 2 หมู่บ้าน


การปลูกพืช

    ผลผลิตหลัก ได้แก่ กาแฟอาราบิกา และเห็ด

    ผลผลิตรอง ได้แก่ ไม้ดอก (ซิมบิเดียม) ปศุสัตว์พืชไร่และไม้ผล


โครงสร้างพื้นฐาน

    ถนน เป็นถนนลาดยางถึงศูนย์ส ่วนแปลงทดสอบ สาธิตเป็นถนนดินแดง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

    ไฟฟ้า มีระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ในหมู่บ้าน จำนวน 10 หมู่บ้าน ไม่มีไฟฟ้า 1 หมู่บ้าน (11 ครัวเรือน)

    น้ำ น้ำบาดาล 8 หมู่บ้าน/ชุมชน และประปาภูเขา 10 หมู่บ้าน/ชุมชน และมีแหล่งน้ำการเกษตร10 หมู่บ้าน/ชุมชน แต่พบว่าขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคในฤดูแล้ง เนื่องจากแหล่งต้นทุนธรรมชาติไม่เพียงพอ

    E-mail สามารถติดต่อได้ทาง pm.rpf.7020@gmail.com


สภาพเศรษฐกิจสังคม

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยงราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรอาชีพหลักคือกาแฟอาราบิกาชา(เมี่ยง) เห็ด อาชีพรอง คือ ไม้ดอก (ซิมบิเดียม) ปศุสัตว์พืชไร่และไม้ผลและงานหัตถกรรม

    1. รายได้เฉลี่ย

         เกษตรกรมีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ประมาณ 60,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปีรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร

    2. การรวมกลุ่มเกษตรกร

        เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มออมทรัพย์กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (กลุ่มหมู่บ้านพิทักษ์ป่า) กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง

    3. บริการสาธารณสุข

        ใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ตำบลเทพเสด็จ และตำบลป่าเมี่ยง

    4. ความช่วยเหลือจากภาครัฐ

        หน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล

    5. อาชีพหลักและอาชีพรองของเกษตรกร

        เกษตรกรมีอาชีพหลักคือการปลูกพืชทางการเกษตรได้แก่กาแฟอาราบิกาเห็ดอาชีพรองคือไม้ดอกปศุสัตว์ไม้ผลและพืชไร

 

 

อ้างอิง :

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้