Last updated: 6 มิ.ย. 2565 | 1457 จำนวนผู้เข้าชม |
นับแต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระองค์ทรงดำรงไว้ซึ่ง ธรรมทั้งปวงและทรงเปรียบประดุจแสงชัชวาลที่สาดส่อง นำการพัฒนาประเทศ ให้มั่นคงยั่งยืนมาเป็นเวลาอันยาวนาน ด้วยพระปณิธานอันแกร่งกล้าที่จะทรงเสียสละประโยชน์ส่วนพระองค์ เพื่อพสกนิกรชาวไทย และทรงถือว่าทุกข์ของพสกนิกร คือ ทุกข์ของพระองค์ ดั่งพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
พระองค์ทรงตระหนักว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยพื้นฐาน และเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ พระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียน และศึกษาความเป็นอยู่ของพสกนิกรในพื้นที่ชนบททุกภูมิภาค พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพที่ทุรกันดาร และทรงรับทราบปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน ซึ่งนำไปสู่พระบรมราชวินิจฉัยในปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน โดยพระราชทานแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่เน้นการพัฒนาให้ประชาชนในชนบท มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถ พึ่งตนเองได้ อันเป็นการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง “หลักการทรงงาน” เป็นการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริง โดยทรงยึดเป็นหลักการในการพัฒนา ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สรุปได้ดังนี้
ด้วยความปรารถนาดีจาก กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร