ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย จังหวัดเชียงใหม่

Last updated: 5 เม.ย 2565  |  3986 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย จังหวัดเชียงใหม่

    “...ให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงให้มูลนิธิโครงการหลวงดำเนินการขึ้นในเขตหมู่บ้านแกน้อยและไชยา หมู่ 9 ต.เมืองนะ เพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นและติดฝิ่นของราษฎรที่อาศัยอยู่ ณ บ้านแกน้อย... ” 

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

ประวัติความเป็นมา

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อยอ.เชียงดาวจ.เชียงใหม่ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ณ บ้านแกน้อย มีวิถีชีวิตอยู่กับการปลูกฝิ่นขายฝิ่นและติดฝิ่น และปลูกข้าวไร่บ้างเพื่อเลี้ยงชีพตนเอง เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวเขาเผ่ามูเซอ ณ บ้านแกน้อยต.เมืองนะและทรงซักถามความเป็นอยู่ ทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินแห่งนี้แล้วทรงมีพระราชดำรัสกับหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนีประธานมูลนิธิโครงการหลวงให้รับเข้าอยู่ในโครงการหลวง

    มีนาคม 2523 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนีผู้อำนวยการโครงการหลวง มอบหมายให้นายจิตติปิ่นทอง และคณะอาจารย์คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดตั้งศูนย์ฯแกน้อยขึ้นในเขตหมู่บ้านแกน้อยและไชยา หมู่ 9 ต.เมืองนะ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตลอดมา ปี2526 องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้โปรดให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินงานร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการจัดสรรหาบุคลากรและวัสดุการเกษตรบางส่วนสมทบ

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2525 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวเขา และทอดพระเนตรความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ส่งเสริมการเกษตรของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อยแม้อยู่ห่างไกลจากความเจริญมากเพียงใด การคมนาคม ยากลำยากเท่าใด พ่อหลวง แม่หลวง และพระบรมวงศานุวงศ์มิได้ทอดทิ้งเขาเหล่านั้น แต่ประการใด ดังพระราชกรณียกิจที่ปรากฏทำให้เขาได้รู้สึกถึงความเป็นคนไทย และรักในความเป็นชาติไทย

 

การดำเนินงานด้านการส่งเสริม/การวิจัย

    ปัจจุบันศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อยได้จัดทำแปลงทดสอบสาธิตการปลูกพืชชนิดต่างๆและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรชาวเขา ในการปลูกพืชผัก สมุนไพร ไม้ผล ไม้ดอก พืชไร่และกาแฟอาราบิกา ภายใต้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ระบบการเพาะปลูกที่ดีภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัยได้แก่ระบบการเพาะปลูกที่ดี (GAP) ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร สร้างรายได้ที่มั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่เกษตรกร นอกจากนี้ยังสนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้เข้มแข็ง โดยการจัดกิจกรรมและพัฒนาด้านการศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข รวมไปถึงการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์รวมทั้งส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้านตามแนวพระราชดำริป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของดิน รณรงค์การลดการใช้สารเคมีและเฝ้าระวังการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรที่สูงแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป

 

ลักษณะทั่วไปของพื้นที

      ที่ตั้ง : บ้านแกน้อย หมู่ที่ 2 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

      ภูมิประเทศ : ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไป คล้ายแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขาที่ไม่สูงชันมากนัก มีลำน้ำแม่แตง และน้ำแม่แกนไหลผ่าน พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรลักษณะดินเกิดจากหินเถ้าภูเขาไฟหินปูน และหินตะกอน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลาง ดินมีค่า pH ประมาณ 5.5 – 6.0

      การใช้ประโยชน์ที่ดิน : พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์46,774 ไร่คิดเป็นร้อยละ 81.76 พื้นที่ทำการเกษตร 9,633 ไร่คิดเป็นร้อยละ 16.84 และเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและสาธารณะ 803 ไร่คิดเป็นร้อยละ 1.40  

      ภูมิอากาศ    :    มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 26.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 16.2 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,545 มิลลิเมตร

      การคมนาคม : จากเมืองเชียงใหม ่ ถึงศูนย์ฯ แกน้อย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม ่ ระยะทาง 150 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 3.5 ชั่วโมง  

 

ข้อมูลหมู่บ้านและประชากร

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย มีพื้นที่ 2 หมู่บ้าน 13 หย่อมบ้าน ประชากร 1,004 ครัวเรือน จำนวน 6,420 คน ซึ่งเป็นชนเผ่ามูเซอดำ มูเซอแดง จีนยูนนาน และไทใหญ่

 

สภาพเศรษฐกิจสังคม

    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรอาชีพหลักคือการปลูกพืชผักในระบบปกติGAPและระบบอินทรีย์เช่น กะหล่ำปลีผักกาดขาวปลีผักกาดหอมห่อคอสสลัดบัตเตอร์เฮด โอ๊คลีฟเขียว โอ๊คลีฟแดงฯลฯ รวมทั้งปลูกไม้ผล เช่น เครปกูสเบอร์รีมะม่วง อะโวคาโดฯลฯ และพืชอื่นๆ เช่น ข้าวไร่ข้าวนา ถั่ว ควินัว และปลูกไม้ดอก อาชีพรอง คือ เลี้ยงสัตว์และงานหัตถกรรมใช้ในครัวเรือน    

      รายได้เฉลี่ย : เกษตรกรมีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ประมาณ 33,930 บาทต่อครัวเรือนต่อปีรายได้ส่วนใหญ่ มาจากภาคการเกษตร

      การรวมกลุ่มเกษตรกร : เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม ได้แก่กลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มออมทรัพย์กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเยาวชน

      บริการสาธารณสุข : ใช้บริการอนามัยหมู่บ้านแกน้อย

      ความช่วยเหลือจากภาครัฐ : หน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนตำบล

      อาชีพหลักและอาชีพรองของเกษตรกร : เกษตรกรมีอาชีพหลัก คือ การปลูกพืชทางการเกษตร ได้แก่ พืชผัก ไม้ผล พืชไร่ ไม้ดอก อาชีพรอง คือ เลี้ยงสัตว์ค้าขาย 

 

 

อ้างอิง :



 

       

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้