Last updated: 20 ธ.ค. 2564 | 14980 จำนวนผู้เข้าชม |
1. "ทาน"
การให้ การเสียสละ หมายถึง การเสียสละพระราชทรัพย์ เพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ทั้งในด้านบำรุงพระพุทธศาสนาและบรรเทาความยากไร้ ให้ประชาชนอยู่เป็นกิจวัตร ทั้งยังทรงเป็นผู้นำในการบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก จากภัยธรรมชาติหลายต่อหลายครั้ง นอกจากทรัพย์แล้ว ทาน ของในหลวงยังหมายถึงพระราชทานความรู้ เพื่อประชาชนจะได้ใช้เป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน
ทาน - การให้ การเสียสละ
การให้ทานแบ่งออกเป็น 2 ประการ ประกอบด้วย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงบำเพ็ญธรรมทานอย่างมิได้ขาด โดยพระองค์จะพระราชทานพระบรมราโชวาทที่แฝงด้วยคติธรรมเป็นเครื่องเตือนใจแก่ข้าราชการและประชาชนอยู่เสมอ ดังพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม พ.ศ.2541 ความว่า
“คนเราถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม พ.ศ.2541
พระเจ้าอยู่หัว "เศรษฐกิจพอเพียง" 4 ธันวาคม 2541 พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 4 ธันวาคม 2541 เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 ธันวาคม 2541 โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย เป็นผู้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นเรื่องสำคัญ พระองค์ทรงต้องมีพระราชดำรัสซ้ำย้ำอีกครั้งในปีนี้ เพราะที่ทรงอธิบายไปแล้วปีก่อนหน้านั้นก็ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ พระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
"การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับชั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้น โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดและถูกต้องตามหลักวิชา" พระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ในวันที่ 4 ธันวาคม 2540
"รู้ว่าท่านทั้งหลายกำลังกลุ้มใจในวิกฤติการณ์ ตั้งแต่คนที่มีเงินน้อย จนกระทั่งคนที่มีเงินมาก แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด แม้จะไม่ถึงครึ่ง อาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถที่จะอยู่ได้" พระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงวันที่ 4 ธันวาคม 2541 พระเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายเรื่องความพอเพียงในด้านที่มิใช่เศรษฐกิจด้วย
"..คำว่าเศรษฐกิจพอเพียง นี้ไม่มีในตำรา ไม่เคยมีระบบเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า "self sufficiency" พูดจาก็พอเพียง ปฏิบัติก็พอเพียง ความคิดก็เหมือนกัน ถ้าใครมีความคิดอย่างหนึ่ง การพอเพียงในความคิดก็คือ แสดงความคิดของตัว ความเห็นของตัว และปล่อยให้อีกคนพูดบ้าง และมาพิจารณาว่า ที่เขาพูดกับที่เราพูด อันไหนพอเพียง อันไหนเข้าเรื่อง ถ้าไม่เข้าเรื่องก็แก้ไข เพราะว่าพูดกันโดยที่ไม่รู้เรื่องกันมันก็เป็นการทะเลาะ จากการทะเลาะด้วยวาจา ก็กลายเป็นการทะเลาะด้วยกาย ซึึ่งในที่สุดก็นำไปสู่ความเสียหาย ถ้าพูดไม่เข้าใจปีนี้ก็อาจจะต้องอธิบายต่อปีหน้า.."
สมเกียรติ อ่อนวิมล
25 พฤศจิกายน 2554
ส่วน "อามิสทาน" นั้น ไม่ว่าเสด็จฯ ไปที่ใดจะทรงถวายทานแด่พระภิกษุ ตลอดจนพระราชทานทรัพย์และวัตถุสิ่งของจำเป็นต่างๆ แก่พสกนิกรอยู่เสมอ กระทั่งโครงการในพระราชดำริต่างๆ ที่ทรงริเริ่มเพื่อความผาสุกของประชาราษฎร์นั้น ในช่วงเริ่มต้นล้วนได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น
พล.ร.อ. ม.จ.กาฬวรรณดิศ ดิศกุล อดีตสมุหราชองครักษ์ ให้สัมภาษณ์ในหนังสือในหลวงของเรา ว่า
“…พระองค์ท่านไม่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเอาเงินงบประมาณแผ่นดินมาใช้ในตอนริเริ่มของโครงการ เพราะถ้าโครงการนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ ก็จะเป็นการสูญเสียงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินที่เก็บมาจากภาษีอากรจากราษฎรเท่านั้น พระองค์ท่านจึงทรงยอมให้เสียเงินส่วนพระองค์เสียเอง เมื่อโครงการใดประสบผลสำเร็จแล้ว และรัฐเห็นดีด้วย พระองค์ท่านจึงจะทรงมอบให้รัฐบาลไปดำเนินการต่อไป นอกจากนั้นเวลาพระองค์ท่านเสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด และทรงพบผู้เจ็บป่วย ก็พระราชทานค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยเหล่านั้นอย่างทั่วถึงบางรายก็ต้องนำมารักษาพยาบาลที่กรุงเทพฯ โดยที่พระองค์ท่านรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์…”
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงบำเพ็ญทานบารมีเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ ทรงหวังเพียงให้ประชาชนของพระองค์อยู่ดีกินดีและมีความสุข ดังพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2534 ความว่า
“การที่คนอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้”
ข้อมูลจาก นิตยสาร Secret
21 ม.ค. 2564
18 ม.ค. 2564
18 ม.ค. 2564
19 ม.ค. 2564