Last updated: 3 พ.ค. 2565 | 9523 จำนวนผู้เข้าชม |
“...ให้หน่วยงานในพื้นที่ช่วยกันพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาบ้านขุนวาง เพื่อแก้ปัญหาการปลูกพืชเสพติด โดยเอกอัครราชทูตอเมริกาได้รับสนองนโยบาย และสนับสนุนงบประมาณสมทบในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง...”
พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านขุนวางเป็นครั้งแรกได้ทอดพระเนตรเห็นว่าบริเวณนี้ยังมีพืชเสพติดอยู่มากควรจะส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่มีรายได้ทัดเทียมหรือดีกว่าปลูกฝิ่นจึงรับสั่งให้หน่วยงานในพื้นที่ช่วยกันพิจารณาปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งในครั้งนั้นเอกอัครราชทูตอเมริกาได้รับสนองนโยบาย โดยให้การสนับสนุนงบประมาณสมทบในการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง จึงได้เริ่มต้นดำเนินการอย่างจริงจัง ในปีพ.ศ. 2528 โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดพื้นที่การปลูกฝิ่นหาพืชอื่นที่มีรายได้มากกว่าฝิ่นทดแทน ให้ชาวบ้านทำกินในพื้นที่อย่างถาวรและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ซึ่งการดำเนินงานในระยะแรกนั้นได้รับเงินสนับสนุนช่วยเหลือจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(United Nations DevelopmentProgramme: UNDP)และต่อมาได้รับงบประมาณสนับสนุนเต็มรูปแบบจากมูลนิธิโครงการหลวง
การดำเนินงานด้านการส่งเสริม/วิจัย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง มุ่งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรในการเพาะปลูกพืชผักภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัยได้แก่ระบบมาตรฐานการเพาะปลูกพืชที่ดี (GAP)และส่งเสริมการปลูกพืชผักไม้ผลไม้ดอกชาจีน เห็ดและพืชไร่สร้างรายได้ที่มั่นคง และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่เกษตรกร มีจำนวนเกษตรกรที่เป็นสมาชิก จำนวน 397 ราย นอกจากนี้ยังส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้านตามแนวพระราชดำริป่า 3 อย่าง ประโยชน์4 อย่างการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของดินและพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของคนและชุมชน การพัฒนาสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนชาวเขารวมไปถึงการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรที่สูงแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของพื้นที่
ที่ตั้ง : บ้านขุนวางเลขที่ 112 หมู่ที่ 12 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ภูมิประเทศ : พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน มีที่ราบระหว่างภูเขาเล็กน้อยตามแนวลำห้วย และแม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำขุนวางขวาและแม่น้ำขุนวางซ้ายความสูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง 900-1,400 เมตร ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างดีมีปริมาณอินทรียวัตถุปานกลาง มีค่า pH ที่ 4
การใช้ประโยชน์ที่ดิน : ประกอบด้วย พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 22,732.38 ไร่ร้อยละ 37.12 พื้นที่ทำการเกษตร 9,436.75 ไร่ร้อยละ 15.4 และพื้นที่อยู่อาศัยและสาธารณะ 29,069 ไร่ร้อยละ 47.46
ภูมิอากาศ : มีอุณหภูมิสูงสุด 37 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 8 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,424 มม./ปี
การเดินทาง : จากอำเภอเมืองถึงศูนย์ฯ ขุนวาง มี2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางหลักอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 68 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง และเส้นทางสายดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 103 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง
การปลูกพืช
พืชผัก
ผลผลิตหลัก ได้แก่ คอสสลัด, กะหล่ำปลีหัวใจ, ผักกาดหัวญี่ปุ่น, บรอกโคลี
ผลผลิตรอง ได้แก่ เบบี้แคร์รอต, ถั่วลันเตาหวาน, พริกหวานเขียว, มะเขือเทศโครงการหลวง, มะเขือเทศเชอรี่แดง
ไม้ผล
ผลผลิตหลัก ได้แก่ อะโวคาโด, เสาวรส, สตรอว์เบอร์รี, เครปกูสเบอร์รี
ผลผลิตรอง ได้แก่ พีช, พลับ, พลัม, กีวี, บ๊วย, เลมอน, มัลเบอร์รี่, องุ่น, เปปิโน
ไม้ดอก
ผลผลิตหลัก ได้แก่ เบญจมาศ, คาร์เนชั่น
ผลผลิตรอง ได้แก่ แคลล่าลิลี่ขาว, โคคอสเมียร์,ยูโคมิส,สะแตตีส,ซินูอะตั้ม,อะกาแพนทัส,แกงการูพอว์
ชาจีน
ผลผลิตหลัก ได้แก่ ชาเบอร์17
ผลผลิตรอง ได้แก่ ชาเบอร์12
เห็ด
ผลผลิตหลัก ได้แก่ เห็ดปุยฝ้าย
ผลผลิตรอง ได้แก่ เห็ดหอม, กระดุม
พืชไร่
ผลผลิตหลัก ได้แก่ ข้าวสาลี
ผลผลิตรอง ได้แก่ ข้าวเหลือง, เฮมพ์
โครงสร้างพื้นฐาน
ถนน : เป็นถนนลาดยาง 2 หมู่บ้าน (บ้านขุนวาง, ป่ากล้วย-โป่งลมแรง), ถนนคอนกรีต 1 หมู่บ้าน (บ้านขุนแม่วาก) และ 1 หมู่บ้านเป็นทางลูกรัง (บ้านโป่งน้อย-ห้วยยาว) ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร
ไฟฟ้า : มีระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ในหมู่บ้าน จำนวน 4 หมู่บ้าน
น้ำ : ชุมชน และประปาภูเขา 4 หมู่บ้าน และมีแหล่งน้ำการเกษตร 4 หมู่บ้าน แต่พบว่าขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคในฤดูแล้ง เนื่องจากแหล่งต้นทุนธรรมชาติไม่เพียงพอ
โทรศัพท์ : มีเบอร์โทรศูนย์ฯ 088-2516029
สภาพเศรษฐกิจสังคม
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร อาชีพหลักคือการปลูกพืชผักเช่น คอสสลัด,กะหล่ำปลีหัวใจ,ผักกาดหัวญี่ปุ่น, บรอกโคลีรวมทั้งปลูกไม้ผลเช่น เสาวรส,เครปกูสเบอร์รี, สตรอว์เบอร์รีและไม้ดอก เช่น เบญจมาศ อาชีพรอง คือ งานหัตถกรรม
รายได้เฉลี่ย : เกษตรกรมีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ประมาณ 70,645.90 บาทต่อครัวเรือนต่อปีรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร
การรวมกลุ่มเกษตรกร : เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม ได้แก่กลุ่มทอผ้า กลุ่มออมทรัพย์กลุ่มสหกรณ์โครงการหลวง
บริการสาธารณสุข : ใช้บริการโรงพยาบาลหนองเต่า หมู่ 4 ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
ความช่วยเหลือจากภาครัฐ : หน่วยงานราชการต่างๆในพื้นที่ ได้แก่ อำเภอแม่วาง,อำเภอแม่แจ่ม,องค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน, องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาจร, ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่(ขุนวาง), ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่(แม่นาจร), ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อพ่อโคพันธุ์(โครงการหลวงอินทนนท์), โรงเรียนหลวงพัฒนาบ้านขุนวาง, โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำที่ 5 ขุนวาง, หน่วยจัดการต้นน้ำที่ 5 ขุนวาง, หน่วยจัดการต้นน้ำแม่นาจร
อาชีพหลักและอาชีพรองของเกษตรกร : เกษตรกรมีอาชีพหลักคือการปลูกพืชทางการเกษตร ได้แก่ผัก, ไม้ผล, ไม้ดอก, พืชไร่,ชาจีนและเห็ด อาชีพรอง คือ ค้าขายผลผลิตทางการเกษตร, หัตถกรรม
อ้างอิง :
2 ส.ค. 2565
16 ส.ค. 2565
30 ส.ค. 2565
19 ก.ค. 2565