โครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ดินต้นน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

Last updated: 8 มี.ค. 2565  |  3788 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ดินต้นน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

    “…ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทําหน้าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งเป็น สรุปผลการพัฒนา ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนร้และนําไปปฏิบัติได้…” 

พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

พระราชดำริ

    ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ก่อกําเนิดจากการที่ได้รับพระราชดําริ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2525 มีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง ที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนําไปปฏิบัติได้ด้วยตัวเองต่อไป โดยทําการศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอํานวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนคงความช่มชื้นเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างที่ 4 และ พื้นที่ต้นน้ำลําธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก โดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลําธารและ ปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตาม
อ่างเก็บน้ำต่างๆ ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม

    เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆในศูนย์ฯ แล้ว นําไปใช้ปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป ดังมีพระราชดําริว่า “...ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทําหน้าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติที่มีชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งเป็น สรุปผลการพัฒนา ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนร้และนําไปปฏิบัติได้...”

    เนื่องในปี พ.ศ.2544 แกนนําราษฎรอําเภอน้ำหนาวจํานวน 200 คน ไปศึกษาดูงานและเข้ารับการอบรมรูปแบบการพัฒนาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดําริ โดยนําแนวทางการพัฒนาที่ได้จากการศึกษาและพัฒนาตามแนวพระราชดําริเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อการดําเนินงานพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำอําเภอน้ำหนาว

 

ความเป็นมาของโครงการ

    ในพื้นที่อำเภอน้ำหนาวนั้นเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และยังถูกกำหนดให้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำที่สำคัญในชั้น 1A นั้นมีความสำคัญยิ่ง เพราะโดยข้อเท็จจริงในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ำหนาวแห่งนี้ ได้มีการจัดตั้งบ้านเรือนและมีการทำกิน , บุกรุกทำลายป่าเป็นจำนวนมากและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่ถูกวิธีบนพื้นที่ลาดชันภูเขาสูงมาเป็นระยะยาวนาน จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพลุ่มน้ำ และรูปแบบการเพาะปลูกพืชของราษฎรก็มุ่งปลูกพืชพาณิชย์เป็นหลัก เช่น ข้าวโพด ขิง ซึ่งเป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นให้เกิดความเสียหายต่อลุ่มน้ำและสภาพแวดล้อมมากขึ้นด้วย

    ในปีพ.ศ. 2544 แกนนำราษฎรอำเภอน้ำหนาวจำนวน 200 คน ไปศึกษาดูงานและเข้ารับการอบรมรูปแบบการพัฒนาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อการเรียนรู้และนำรูปแบบความรู้เพื่อไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และหลังจากนั้นสำนักงาน กปร. และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้เดินทางไปติดตามเยี่ยมชมสภาพพื้นที่และแนวทางการนำผลการฝึกอบรมจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ไปใช้ในการพัฒนาชุมชน

    สำนักงาน กปร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ร่วมกันสำรวจข้อมูลเบื้องต้นและได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่อำเภอน้ำหนาว มีสภาพปัญหาที่มีความสำคัญควรที่จะได้จัดทำโครงการดำเนินการในลักษณะดำเนินงานแบบเบ็ดเสร็จตามรูปแบบโครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจาพระราชดำริ โดยนำแนวทางการพัฒนาที่ได้จากการศึกษาและพัฒนาตามแนวพระราชดำร ิเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำอำเภอน้ำ

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

    1. พัฒนาคุณภาพล่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สัมพันธ์ และเอื้อประโยชน์ต่อกันได้อย่างยั่งยืน

    2. เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอําเภอน้ำหนาวได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาจนมีสภาพที่สมบูรณ์

    3. เพื่อพัฒนาการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของราษฎร ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ทําให้คนสามารถอยู่กับป่าได้

 

ที่ตั้งโครงการ

    พื้ตั้งอยู่ที่ บ้านวังกวาง หมู่2 ตำบลวังกวาง บ้านหลักด่าน หมู่ 1, 2, 3 ตำบลหลักด่าน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่างค่าพิกัด X = 761407 – 792287 และระหว่างค่าพิกัด Y = 1843884 - 1886763 ในระบบ WGS84 บนแผนที่ประเทศไทย ลำดับชุดที่ L7018 ระวางแผนที่ 5242 I,II 5243 II 5342 I,II,III,IV 5342 II,III มีพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ 280,625 ไร่

 

 

อ้างอิง :

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้