สถานีเกษตรหลวงปางดะ จังหวัดเชียงใหม่

Last updated: 22 ก.พ. 2565  |  5463 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สถานีเกษตรหลวงปางดะ จังหวัดเชียงใหม่

    “…เพื่อช่วยให้ชาวเขามีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้มีรายได้ที่มั่นคง โดยการนำพืชเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดให้เกษตรกรปลูก พร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยีการผลิต การใช้สารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนให้เกษตรกรใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการอนุรักษ์ดิน และน้ำ...” 

พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ประวัติความเป็นมา

    พ.ศ. 2522 มูลนิธิโครงการหลวงได้เลือกพื้นที่ในสถานีทดลองข้าวไร่ และธัญพืชเขตหนาวสะเมิงของกรมวิชาการเกษตร หมู่บ้านปางดะ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งทำการขยายพันธุ์พืช

    ต่อมา ปีพ.ศ. 2526 เมื่อมีปริมาณความต้องการด้านพืชเพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานที่แห่งนี้ผลิตต้นพันธุ์ได้ ไม่เพียงพอ มูลนิธิโครงการหลวงจึงเลือกสถานที่แห่งใหม่ ติดอ่างเก็บน้ำโครงการพระราชดำริห้วยปลาก้าง ตั้งเป็นศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวง

    วันที่12 กุมภาพันธ์2530 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเพื่อทอดพระเนตรกิจกรรมต่างๆของศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวงเป็นครั้งแรกและในโอกาสนี้หม่อมเจ้าภีศเดชรัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงในขณะนั้น ได้ทูลขอพระราชทานชื่อใหม่ว่า “สถานีเกษตรหลวงปางดะ

    ต่อมา พ.ศ. 2532 สถานีเกษตรหลวงปางดะ ได้เริ่มให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และในปัจจุบันได้ดำเนินการขยายพื้นที่ในการพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร รวม 15 หมู่บ้าน ของตำบลสะเมิงใต้ ตำบลแม่สาบ และตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่รวมถึงการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

 

ลักษณะทั่วไปของพื้นที่

      ที่ตั้ง    :    บ้านปางดะ เลขที่ 192 หมู่ 10 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง          จังหวัดเชียงใหม่  50250

      ภูมิประเทศ    :    ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ลาดชันภูเขาสลับซับซ้อนมีที่ราบตามหุบเขาและเชิงเขาสายน้ำหลัก คือ ห้วยปลาก้าง ห้วยแม่สาบ และห้วยหวาย พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 720 เมตร ลักษณะดินเกิดจากภูเขาหินปูน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลาง

       การใช้ประโยชน์ที่ดิน    :

         1. พื้นที่ของสถานีเกษตรหลวงปางดะ 1,243 ไร่ 3 งาน 92 ตารางวา แยกเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและสิ่งปลูกสร้าง 565 ไร่ 20 ตารางวาและเป็นพื้นที่แปลงปลูกป่าและฟื้นฟูสภาพป่า 678 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา

         2. พื้นที่หมู่บ้านส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 85,000 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 81.19 พื้นที่ทำการเกษตร 8,199.80 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.13 และเป็นพื้นที่อยู ่อาศัย และสาธารณะ 1,440.75 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.52
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลาง มีค่า pH 5.5–6.5 พื้นที่มีความสูงจาก
ระดับน้ำทะเลปานกลาง 400 - 900 เมตร

      ภูมิอากาศ    :    อุณหภูมิสูงสุด 35.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 7.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 21.70 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝน 1,423.47 มิลลิเมตรต่อปี

      การเดินทาง    :    จากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงสถานีเกษตรหลวงปางดะระยะทาง 45 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง

 

ข้อมูลหมู่บ้านและประชากร

    สถานีเกษตรหลวงปางดะ มีพื้นที่ส่งเสริม จำนวน 15 หมู่บ้าน ครอบคลุม 3 ตำบล คือ ตำบลสะเมิงใต้ ตำบลแม่สาบ และตำบลยั้งเมิน มีประชากรรวม 2,365 ครัวเรือน จำนวน 6,039 คน ซึ่งเป็นชนเผ่าไทลื้อและคนเมือง 

 

การดำเนินงานด้านการส่งเสริม/การวิจัย

     สถานีเกษตรหลวงปางดะ มุ่งเน้นการผลิตพันธุ์พืชให้ได้คุณภาพ การทำงานวิจัยและสนับสนุนพื้นที่ทำงานวิจัย โดยการสนับสนุนโครงการวิจัยจากฝ่ายวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวง โครงการวิจัยจากหน่วยงานภายนอกและโครงการงานทดสอบดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ประจำสถานีงานรวบรวมข้อมูลพันธุ์พืชงานทดสอบพันธุ์งานรวบรวมพันธุ์งานผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต แปลงสาธิตการผลิต พืชเมืองหนาวและกึ่งร้อน ได้แก่ ไม้ผล พืชผัก พืชสมุนไพร ผักอินทรีย์ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ไผ่ มุ่งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรในการเพาะปลูกพืชผักภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย ได้แก่ ระบบมาตรฐานการเพาะปลูกพืชที่ดี(GAP) อินทรีย์ มาตรฐาน GMP Codex HACCP และส่งเสริมการปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก พืชไร่ ปศุสัตว์สร้างรายได้ที่มั่นคง และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่เกษตรกร มีจำนวนเกษตรกรที่เป็นสมาชิก จำนวน 145 ราย นอกจากนี้ยังส ่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้านตามแนวพระราชดำริป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของดิน โครงการรณรงค์การลดใช้สารเคมีและพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของคนและชุมชน โครงการหมู่บ้านต่อต้านยาเสพติด การพัฒนาสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนโครงการศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เช่น จัดตั้งสหกรณ์การเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์กลุ่มเยาวชน ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรที่สูงแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป

 

การปลูกพืช

    ผลผลิตหลัก ได้แก่ ข้าวโพดหวานสองสีข้าวโพดหวานสีม่วง มันเทศญี่ปุ่นสีม่วง ผักกาดขาวปลี

    ผลผลิตรอง ได้แก่ บัตเตอร์นัท กุยช่ายขาว มะเขือเทศเชอรี่แฟนซีซูกินี

 

สภาพเศรษฐกิจสังคม

    สถานีเกษตรหลวงปางดะส่วนใหญ่มีเอกสารสิทธิ์ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรอาชีพหลักคือการปลูกพืชผัก เช่น ข้าวโพดหวานสองสีข้าวโพดหวานสีม่วง มันเทศญี่ปุ่นสีม่วง ผักกาดขาวปลีซูกินีบัตเตอร์นัท กุยช่ายขาว มะเขือเทศเชอรี่แฟนซีรวมทั้งปลูกไม้ผล เช่น เสาวรสหวาน และพืชอื่นๆ เช่น ถั่วเหลืองผิวดำ ถั่วแดงหลวง ถั่วขาว Hemp (เมล็ดพันธุ์) อาชีพรอง คือ รับจ้างทั่วไป เลี้ยงสัตว์และงานหัตถกรรม

 

 

อ้างอิง : 

  

 

   

 

 
            

      

    

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้