Last updated: 21 ธ.ค. 2564 | 3858 จำนวนผู้เข้าชม |
“…ควรพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และฝายทดน้ำตามลำห้วยสาขาของลำน้ำแม่ลาว เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรในหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง อีกทั้งให้มีน้ำไว้เพื่อการอุปโภค – บริโภค ตลอดไปด้วย…”
พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2523 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำร่องส้าน และทรงเยี่ยมราษฎร ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ได้ทรงมี พระราชดำริ เกี่ยวกับงานชลประทาน ดังต่อไปนี้
“ ควรพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และฝายทดน้ำตามลำห้วยสาขาของลำน้ำแม่ลาว เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรในหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง อีกทั้งให้มีน้ำไว้เพื่อการอุปโภค – บริโภค ตลอดไปด้วย ”
กรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานพะเยา สำนักงานชลประทานที่ 2 จึงได้พิจารณาวางแผนการก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำห้วยไฟตามพระราชดำริขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่มีลำดับความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยใช้เงินงบประมาณชลประทานขนาดเล็กในปีงบประมาณ 2525 เพื่อสนองพระราชดำริ ในการพัฒนาแหล่งน้ำต่อไป
แต่เดิมลำน้ำห้วยไฟเป็นลำน้ำที่ไหลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะมีปริมาณมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดอุทกภัยเป็นประจำทุกปี และเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูแล้ง ปริมาณน้ำที่เคยไหลหลากก็ลดจำนวนลงสร้างปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างมาก ถึงกับมีการอพยพออกจากพื้นที่เพื่อไปขายแรงงานที่จังหวัดน่าน และจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากไม่สามารถทำการเกษตรเพื่อยังชีพได้
บริเวณนี้เดิมเป็นฝาย ชื่อ “ฝายสล่ากู้” และทางด้านท้ายน้ำลงไปยังมีฝายเล็กๆอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นกรมชลประทานได้ทำการศึกษาแล้วเห็นควรก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไฟขึ้น เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และในคราวที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมอ่างเก็บน้ำร่องส้าน นายสนิท คำงาม ผญบ.ทุ่งติ้วในขณะนั้นได้ถวายฏีกา เพื่อร้องขอให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ห้วยไฟขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และการอุโภค บริโภค ทั้งยังสามารถลดปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลากลงอีกด้วยปัจจุบันมีกลุ่มผู้ใช้น้ำ 18 กลุ่มพื้นฐาน มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 401 คน มีพื้นที่ประมาณ 2,440 ไร่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
จุดประสงค์ที่สร้างขึ้น เพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูกทั้งในและฤดูแล้ง และเพื่อการอุปโภค บริโภค ของราษฎรในเขตพื้นที่ ที่ใช้น้ำจากลำห้วยไฟ
ผลการดำเนินงาน
ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำทำนบดิน ความกว้าง 6.00 เมตร ความยาว 158.00 เมตร ความสูง 14.00 เมตร ความจุที่เก็บกักน้ำ 700,000.00 ลบ.ม. พร้อมระบบส่งน้ำ
ประโยชน์ที่ได้รับ
สนับสนุนน้ำช่วยเหลือราษฎร บ้านทุ่งกระเทียม จำนวนรวม 326 ครัวเรือน ได้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรในฤดูฝนได้ประมาณ 3,000 ไร่ อย่างเพียงพอ
สถานที่ตั้งโครงการ
บ้านทุ่งกระเทียม (บ้านทุ่งติ้วเดิม) หมู่ 11(หมู่ที่ 6 เดิม) ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
อ้างอิง :
19 ก.ค. 2565
16 ส.ค. 2565
2 ส.ค. 2565
30 ส.ค. 2565