Last updated: 7 ส.ค. 2565 | 4085 จำนวนผู้เข้าชม |
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
สร้างน้ำ เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง
ราษฎรบนพื้นที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องประสบปัญหาเกี่ยวการเพาะปลูก เนื่องจากดินมีคุณภาพต่ำไม่อุ้มน้ำ แถมยังมีความเค็ม ฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล แหล่งน้ำธรรมชาติก็มีไม่มากนัก
ท่ามกลางความแห้งแล้งกันดาร ได้มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น นับจากพระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลอง ค้นหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม กับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิต ตามหลักภูมิสังคม
พื้นดินที่แห้งแล้ง ฟื้นความชุ่มชื้น ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อหล่อเลี้ยงพื้นที่ทำกินของราษฎร รวมทั้งพื้นที่ป่าไม้
ดิน ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ราษฎร ปรับปรุงบำรุงดิน ด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่ว การใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดแทนปุ๋ยเคมี
การปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ขณะเดียวกันศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานฯ ได้ศึกษาค้นหารูปแบบเกษตรกรรมที่เหมาะสม อาทิ
เช่นเดียวกับงานด้านปศุสัตว์ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ดี ที่สร้างรายได้ โดยเฉพาะ 4 ดำมหัศจรรย์แห่งภูพาน ได้แก่
สำหรับด้านการประมงน้ำจืด ได้คัดเลือกพันธุ์ปลาที่เลี้ยงง่าย และเป็นที่ต้องการของตลาด เช่นปลาดุก ปลานิล ส่งเสริมการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เช่นการเลี้ยงปลานิลแดง ร่วมกับเป็ดบาบาลี เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารปลา
นี่คือกิจกรรมส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อให้ราษฎรใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างผลิตภัณฑ์ไว้ใช้ในครอบครัว และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
วันเวลาที่ผันผ่าน ผืนป่าภูพานค่อยๆฟื้นตัว และเจริญงอกงาม ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของราษฎร ในการอนุรักษ์ดูแล ที่สำคัญ คือการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ด้วยระบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ให้ราษฎรนำความรู้ไปประยุกต์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างพออยู่กินและยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง