อนิเมชั่น เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตอน เครือข่ายปลาส้ม

Last updated: 4 ส.ค. 2565  |  1116 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อนิเมชั่น เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตอน เครือข่ายปลาส้ม

เพราะใช้ศาสตร์พระราชา ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายอาชีพการทำปลาส้มเป็นชุมชนเข้มแข็งที่มั่นคงในชายแดนภาคใต้

ความเป็นมา : จากความยากจนความคับแค้นทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ชาวบ้านครอบครัวหนึ่ง ในพื้นที่หมู่บ้านป่าบอน ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา ได้หาทางออกให้กับการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ให้กับครอบครัวของตนเอง โดยเริ่มต้นจากการไปเรียนรู้แนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พวกเขาฝึกลดรายจ่าย หาทางเพิ่มรายได้ และใฝ่เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้เห็นว่าความต้องการด้านอาหารเป็นความต้องการที่สำคัญของทุกชีวิต ทั้งนี้ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา มีการเลี้ยงปลาโดยวิธีธรรมชาติ และแบบบ่อเลี้ยงอยู่ ผลผลิตในบางครั้งไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค และหลายครั้งก็มีมากเกินกว่าจะบริโภคได้ทัน จากแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา จึงทำให้เขาคิดว่าหากมีการนำปลาสดที่เหลือ มาถนอมไว้ จะทำให้มีอาหาร ปลาบริโภคในหมู่บ้านได้ตลอดทั้งปี

หลักการ : วิธีการถนอมอาหารที่เขาเลือกนั้นก็คือ การทำปลาสดให้เป็น “ปลาส้ม” เขาจึงริเริ่มการทำปลาส้มในหมู่บ้านขึ้น โดยเริ่มจากครอบครัวของเขาเองก่อน แล้วรับซื้อปลาน้ำจืดในพื้นที่บ้านป่าบอน และพื้นที่ใกล้เคียงมาทำปลาส้ม ในสูตรที่ปรับแต่งจนได้ที่ รสชาติอร่อย จึงนำออกจำหน่ายในหมู่บ้านนั้นเอง ผลปรากฏว่าเป็นที่ถูกปากของทุกคนที่ได้ลองชิม ทำให้พวกเขามีกำลังใจในการผลิตเป็นสินค้ามากขึ้น

 

 

    หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายดาหลาบารูขึ้น เขาได้นำสินค้าปลาส้มของเขา ไปร่วมในหลักการด้านเศรษฐกิจ 4 ด้าน คือ "เพื่อกิน เพื่อใช้ เพื่อเหลือแบ่งปัน เพื่อร่วมกันขาย" นั้น ทำให้เกิดตลาดใหญ่ มีลูกค้ามากมายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา และได้เรียนรู้การทำตลาดแบบออนไลน์ จากเครือข่ายดาหลาบารูอีกด้วย การแปรรูปปลาทะเลให้ เป็นปลาส้ม ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงเป็นที่นิยมอีกรูปแบบ

    ในเวลาเพียงไม่นาน ครอบครัวที่ทำปลาส้มเพียงครอบครัวเดียวนั้น มีออเดอร์ปลาส้มมากขึ้นถึงประมาณเดือนละ 3 ตัน เป็นปริมาณที่มากกว่าครอบครัวเดียวจะทำได้ ซึ่งก็เป็นผลในการเกิดสังคมแบ่งปันโดยธรรมชาติ โดยการแบ่งปันความรู้ แบ่งปันความคิด มีการทำผลผลิตเพิ่มร่วมกันเป็นกลุ่ม ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม เป็นสังคมหมู่บ้านที่เข้มแข็ง พร้อมขยายความเข้มแข็ง ออกไปเป็นเครือข่ายที่มีพลัง

    การสร้างเครือข่ายทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิกได้เสมอ เป็นไปตามหลักการศาสตร์ของพระราชาทุกประการ หลักการทรงงาน ที่ให้ทำจากจุดเล็กๆ ก่อน ย่อมสร้างความสำเร็จในระดับที่ใหญ่ขึ้นอย่างมั่นคง

ด้วยความปรารถนาดีจาก กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้