ตัวอย่างความสำเร็จ การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้

เศรษฐกิจพอเพียง : เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า" พอเพียง " คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี

ความพอประมาณ : คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

ความมีเหตุผล : ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี : คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัทใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์ การมีรายได้หลายทางเพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

    โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่า พื้นฐานความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข 

    ต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างของชุมชนที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปศึกษาและปฏิบัติจนสำเร็จ เห็นผลภายในระยะเวลาไม่นาน ก่อให้เกิดรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ยังเหลือเผื่อแผ่ แจกจ่ายไปถึงผู้อื่นด้วย

วิสาหกิจชุมชนบ้านกล้วย จ.ปัตตานี เป็นที่ทราบกันดีว่า การส่งออกสินค้าฮาลาล ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวมุสลิม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและปราศจากสิ่งต้องห้าม โดยต้องได้รับใบรับรองฮาลาล ซึ่งในประเทศไทยจะมี คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ กอท. ในฐานะองค์กรกลางเป็นผู้ควบคุมดูแลสถานะฮาลาลในโรงงานพร้อมกับตรวจสอบข้อกำหนดต่าง ๆ อย่างเคร่งครัดก่อนพิจารณาออกฉลากให้กับผู้ประกอบการ ทำให้ธุรกิจอาหารฮาลาลไทยมีความน่าเชื่อถือ และเริ่มมีการส่งออกสินค้าฮาลาล มาตั้งแต่ ปี 2538 ซึ่งมีทั้งประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งผู้ประกอบการก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความนิยม ปัจจุบัน อาหารฮาลาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของประชาชนชาวมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐให้การทำอาหารฮาลาลที่เคยมีอยู่เฉพาะภายในครัวเรือน พัฒนาเป็นธุรกิจอาหารฮาลาลอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การส่งออก ดังเช่น เจ้าของผลิตภัณฑ์กล้วยเส้นปรุงรส แบรนด์ Nawati (นาวาตี) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้าน หมู่ 2 ในตำบลนาประคู่ อ. โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการทั้งหมด 12 ราย ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น สมาร์ทฮาลาล ร่วมจัดแสดงสินค้าระดับประเทศ ก่อนที่จะตั้งเป้าหมายให้กล้วยเส้นทรงเครื่องจากจังหวัดปัตตานี ไปได้ไกลถึงต่างประเทศ คุณมาลัยได้หันมาศึกษาการปรับปรุงกระบวนการผลิตและปรับปรุงภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมให้ตรงตามมาตรฐานสากล ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของ Nawati ได้รับการรับรองเครื่องหมาย อย. และเครื่องหมายฮาลาล พร้อมที่จะทำการตลาดเชิงรุกเพื่อตอบโจทย์ความชอบของผู้บริโภค โดยมีการปรับปรุงรสชาติและหน้าตาของผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนบ้านกล้วย ที่สามารถสร้างแบรนด์ของตนเองและทำการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่จะนำรายได้มาสู่สมาชิกที่ทำกล้วยแปรรูปเท่านั้น แต่ยังทำให้อาชีพเกษตรกรชาวสวนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการหันมาปลูกกล้วยน้ำว้า เพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกล้วย ซึ่งคุณมาลัยมองว่านี่คือสิ่งที่เธอมีความสุขมากกว่าการมีรายได้ นั่นก็คือ การทำให้ซึ่งชุมชนที่เป็นบ้านเกิดของเธอ สามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ 26 สิงหาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น . ทาง ททบ.5 และ NBT อขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองย่างเสือ จ.สระบุรี อำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี เป็นอำเภอที่ขึ้นว่าดินแดนเมืองคาวบอย และเป็นเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสระบุรี มีทั้งทุนทางธรรมชาติ สังคมและการประกอบอาชีพที่หลากหลาย เกษตรในตำบลหนองย่างเสือ มีการรวมกลุ่มกันเป็น วิสาหกิจชุมชน โดยกำหนดเส้นทางท่องเที่ยวที่มีชื่อว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนหนองย่างเสือ การร่วมกลุ่มกันของเกษตรกร ทำให้การท่องเที่ยว นอกจากจะได้ความรู้และทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับชาวชุมชนหนองย่างเสือ นักท่องเที่ยวก็จะได้เลือกซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพจากเกษตรกรโดยตรง ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนสินค้าท้องถิ่น และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ปราชญ์เพื่อความมั่นคง จ.สุพรรณบุรี ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นบุคคลที่ย่องย่องว่าเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านและนำภูมิปัญญาไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบความสำเร็จ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นแก่ผู้คนสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเกิดความเชื่อมโยงไปยังผู้คนหลายกลุ่ม ได้สวมบทบาทอีกบทบาทหนึ่งที่เราเรียกว่า ปราชญ์เพื่อความมั่นคง เรื่องราวของคุณเกษมชัย แสงสว่าง ปราชญ์ที่มีผลงานดีเด่น ซึ่งแม้ในชีวิตของท่านได้รับรางวัลมามากมาย แต่ท่านก็ยังไม่หยุดทำงานเพื่อสังคม และยังรับหน้าที่อันสำคัญของนักปราชญ์เพื่อความมั่นคง ในการนำความเปลี่ยนแปลงไปสู่ชุมชนให้อยู่ดีกินดี และมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT https://youtu.be/k-9ZodKK5lM​ ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรถั่วดาวอินคา จ.ลพบุรี ถั่วดาวอินคา เป็นถั่วที่มีต้นกำเนิดในประเทศแถบอเมริกาใต้ แต่คนไทยนำมาปลูกและมีการจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งชาวบ้านได้นำถั่วดาวอินคา มาแปรรูปเป็นสินค้าหลายชนิด สามารถจำหน่ายและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างเป็นกอบเป็นกำ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรถั่วดาวอินคา ถือเป็นตัวอย่างของเกษตรกรไทยรุ่นใหม่ที่เปิดใจเรียนรู้และรับฟังคำแนะนำจากหน่วยงานราชการให้เข้ามาส่งเสริมในสิ่งที่ขาด จนสามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าให้แข่งขันกับผู้อื่นได้ประกอบกับการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาใช้ในการทำการตลาด ประสบความสำเร็จในการผลิตสินค้าได้โดนใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

มหาวิทยาลัยบ้านนอก ต.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยบ้านนอกในฐานะพื้นที่การเรียนรู้เพื่อสังคมทำให้ได้รับรางวัล หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข นอกจากจะได้รับความสุขจากการใช้ชีวิตอย่างพอประมาณแล้วยังมีความสุขจากการเป็นส่วนหนึ่งในการปลูกจิตสำนึกให้กับผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ทุกคนมีความเคารพต่อธรรมชาติและใช้ชีวิตบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมร่วมกัน รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตจักสานบ้านตลาดใหม่ จ.อ่างทอง ภูมิปัญญาเมื่อนำมาปรับปรุงก็สามารถสร้างมูลค่าและเสริมรายได้ให้กับคนในครอบครัวและชุมชน ออมทรัพย์เพื่อการจักสานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภูมิปัญญากับการจักสานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตจักสานบ้านตลาดใหม่ อ.วิเศษชัยชาญจ.อ่างทอง ถือว่าเป็นสุดยอดของไม้ไผ่ที่นำมาใช้ในการจักสาน ซึ่งผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายจนได้รับรางวัลมากมาย จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์จักสานที่มีชื่อและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

วิสาหกิจชุมชนปลานิลแปลงใหญ่ ต.ท่าข้าม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ตัวอย่างความสำเร็จ ของการส่งเสริมให้เกษตรกรทำประมงแบบแปลงใหญ่ ในพื้นที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรีกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลชลบุรี เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จของโครงการแปลงใหญ่ทางด้านการทำประมง ที่เกษตรสามารถรวมตัวกันได้อย่างเข้มแข็ง มีการวางแผนการจัดการและเตรียมรับมือกับการแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นระบบซึ่งก็ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงปลานิลได้อย่างครบวงจร รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านทุ่งน้อย นอกจากจะเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้กลายเป็นพื้นที่เกิดประโยชน์และสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน ที่ผ่านการคัดเลือกโดยประชาคมหมู่บ้านยังทำให้ได้เรียนรู้แก่นแท้ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียงที่หมายถึง ความพอประมาณ การยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท สามารถปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ในทุกๆ ด้าน รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา โครงการทายาทเกษตรกร ช่วยเสริมสร้างศักยภาพหนุ่มสาวลูกหลานเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพมีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อวิถีเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน นำความรู้จากการเข้าโครงการทายาทเกษตร มาต่อยอดในชุมชนของตนเอง ด้วยการคิดปลูกข้าวพื้นเมืองที่เป็นสายพันธุ์ประจำ ท้องถิ่น ให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

โครงการสานต่อที่พ่อทำ ขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ “โครงการ 1 ไร่ แก้จน” เป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจากการส่งเสริมให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน เพื่อให้ประชาชนที่ได้มีโอกาสศึกษาดูงานแล้วนำกลับไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองอย่างแท้จริง โดยเริ่มจากการคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบ ที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ตามศาสตร์พระราชาเป็นหลักพื้นฐานในการทำการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง และมีความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ การดำเนินงาน “โครงการ 1 ไร่ แก้จน” จะใช้หลักปฏิบัติ ที่เรียกว่า 5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ 1.เกษตรกร 2.ปราชญ์เกษตรหรือเกษตรกรต้นแบบ 3.ภาครัฐ 4.ภาคเอกชน และ 5.ภาคการศึกษา โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเรียนรู้ และแก้ไขปัญหาของตนเองร่วมกัน เพื่อแสวงหาทางเลือกในการดำเนินกิจกรรมที่เหมาะกับบริบทของตนเอง รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย จ.สุพรรณบุรี ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย จ.สุพรรณบุรี ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาที่เป็นการรวมกลุ่มของชาวนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการปลูกข้าวให้ได้มาตรฐานและตรงตามความต้องการของตลาด เปิดให้ผู้ที่สนใจเรียนและยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่น่าประทับใจ เราจะได้เห็นวิถีชีวิตอันทรงคุณค่าของชาวนาไทยแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นยุ้งฉาง ไอ้ทุยควายไทย และเครื่องมือในการดำรงชีวิตของผู้คนในถิ่นนี้ ซึ่งรวบรวมความเป็นไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกจำปีหนองแขม เขตหนองแขม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 15 ฝั่งเขตที่อยู่ในฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร จะมีสวนปลูกไม้ดอกไม้ประดับขนาดใหญ่อยู่ท่ามกลางหมู่บนจัดสรรและอาคารพาณิชย์ แถมยังมีการรวมกลุ่มของเกษตรกร ในรูปแบบของสหกรณ์การเกษตรหนองแขมบางขุนเทียน จำกัด ซึ่งนำดอกจำปีมาสกัดน้ำมันคอกจำปี เพื่อให้ได้เป็นหัวน้ำหอมสำหรับนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จำปีเป็นดอกไม้ไทย ที่ที่ปลูกง่าย และต้นทุนถูก แถมยังใช้เวลาเพียง 1-2 ปี เท่านั้น จะเริ่มออกคอกจำนวนมากให้เก็บขายได้ ซึ่งการแปรรูปดอกจำปี ช่วยดึงปริมาณผลผลิต ดอกจำปีออกจากตลาดหลายล้านดอก ทำให้ผลผลิตไม่ล้นและช่วยพยุงราคาให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ได้ รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ฝายมีชีวิต บ้านบันนังกระแจะ หมู่ที่ 5 ต.ธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา ฝายมีชีวิต บ้านบันนังกระแจะ หมู่ที่ 5 ต.ธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา บันนังกระแจะ คือชื่อหมู่บ้าน ของหมู่ที่ 5 ในตำบลธารโต อ.ธารไต จังหวัดยะลา เป็นชุมชนไทยพุทธ ที่ทำมาหากินโดยยึดอาชีพทำสวนและทำการเกษตร บนผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเชื่อมต่อกับอุทยานแห่งชาติบางลางที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ทำให้มีลำธารเล็กๆ หลายสายไหลจากยอดเขามาบรรจบกันเป็นลำน้ำใหญ่ แม้ว่าจะมีลำน้ำน้อยใหญ่อยู่จำนวนมากหลายพื้นที่ก็ยังประสบกับปัญหาขาแคลนน้ำ เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่เอื้อต่อการส่งน้ำออกไปอย่างทั่วถึง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฟาร์มตัวอย่างฯ ธารโต ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เป็นศูนย์การเรียนรู้ แหล่งรายได้ และแหล่งอาหารของชุมชน ริเริ่มนำแนวคิดในการสร้างฝายมีชีวิต รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 เป็นหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สร้างนิยามของการท่องเที่ยว หมู่บ้านในม่านหมอกโดยมีระบบการประสานงานและจัดวางคนที่เหมาะสม และยึดหลักการเคารพวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน โดยไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ โดยชาวบ้านทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการดูแลผืนป่ารอบภูเขาที่อยู่บริเวณชายแดน ไทย – มาเลเซีย และยังจัดให้เป็นพื้นที่ในการศึกษาเส้นทางธรรมชาติ เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของป่า ที่นอกจากจะมีผลผลิตออกมาให้คนในชุมชนได้นำไปจำหน่ายแล้ว ก็ยังทำให้ทุกคนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวอีกด้วย รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

วิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา อ.บางแพ จ.ราชบุรี เวลาที่เราเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งคือการแวะซื้อสินค้าชุมชนและของฝาก ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาสินค้าชุมชนธรรมดาๆให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพ หลายชุมชนสามารถผลักดันให้สินค้าของตัวเองขึ้นแท่นเป็นผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยม จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ซื้อสินค้าคุณภาพดีจากชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา หากมีเวลาอีกซักนิดลองใช้เวลาในการท่องเที่ยวชมวิถีเกษตรยั่งยืนของชาวบ้านที่นั่นมีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งทีเดียว รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

แนวทางการส่งเสริมและขยายฐานการปลูกผักในชุมชนโดย บริษัท เลฟโก้ ฟู้ด จำกัด อ.ปัว จ.น่าน เดินทางไปที่ หมู่ ตำบลสถาน อำเภอป้ว จังหวัดน่าน ไปเยี่ยมชมและพูดคุยกับผู้คนที่นั่นถึงแนวทางในการส่งเสริมและขยายฐานการปลูกผัก เช่น ผักกาดเขียวปลี กระเทียม ขิง มะละกอ โดยผ่านสหกรณ์ในพื้นที่ และจำหน่ายให้กับโรงงานซึ่งอยู่ในชุมชนนั้นเลย ความร่วมมือร่วมใจระหว่างเกษตรกรกับโรงงานของเอกชนซึ่งอยู่ในพื้นที่นั้น ต้องบอกว่าเป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย โดยเกษตรกรจำนวนมากเริ่มเปลี่ยนจากการทำเกษตรอย่างอื่นหันมาปลูกผักเพื่อจำหน่ายให้โรงงานโดยตรง ซึ่งทางโรงงานเองก็มีบทบาทในการส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อให้ชาวชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนด้วย รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

จังหวัดราชบุรีมีสินค้าการเกษตรที่มีชื่อเสียงหลายชนิด หนึ่งในนั้นที่คนทั่วไปรู้จักกันก็คือ “สับปะรดบ้านคา” ซึ่งเป็นสับปะรดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเกษตรกรที่นั่นมีการรวมกลุ่มกันทำการเกษตรแปลงใหญ่ มีระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าที่ได้รับเครื่องหมาย GAP ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ช่วยลดผลกระทบจากปัญหาความผันผวนด้านราคาอีกด้วย รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 15 เมษายน 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มวัดท่าบางศรีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าการออกแบบตัดเย็บเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทยนั้นมีความทันสมัย และได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะผ้าไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นผืนผ้าที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ แม้แต่เศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บก็สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ที่สวยงามได้อีกด้วย นับว่าเป็นผลงานที่ต่อยอดมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สามารถเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ภายในชุมชน โดยที่ไม่ทำลายธรรมชาติอีกด้วยซึ่งกลุ่มชุมชนวัดท่าบางสีทองนี้ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สามารถครองใจลูกค้ามาอย่างยาวนาน ด้วยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาดอยู่เสมอ รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT

ธนาคารคัดแยกขยะประกันชีวิต อ.บางบัวทอง การกำจัดขยะมูลฝอยถึงเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกประเทศทั่วโลก ให้ความสำคัญและมีความพยายามสร้างจิตรสำนึกที่ดีให้แก่ประชาชนในการช่วยกันลดปริมาณขยะ และสร้างนิสัยคัดแยกขยะก่อนทิ้ง องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี เป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนคัดแยกขยะด้วยแนวคิดเปลี่ยนขยะให้เป็นหลักประกันของครอบครัว รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสารภี จ.สมุทรสงคราม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี มีการเลี้ยงไก่ชิงช้าสวรรค์หนึ่งเดียวในประเทศ และประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ที่สร้างเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้เด็กและเยาวชน จุดเด่นของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี คือการใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร อยู่ภายในพื้นที่เพียง 1 ไร่ ซึ่งสามารถเลี้ยงสัตว์ทำปุ๋ยชีวภาพและสร้างแหล่งพลังงานไว้ในครัวเรือนได้

ฟาร์มเห็ดป้านา อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ชุมชนบ้านคลองขวางบนได้รับเลือกจากกรมการพัฒนาชุมชนให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงในปี 2558 ในฐานะชุมชนท่องเที่ยวเชิงธรรมชาตินิเวศน์อนุรักษ์ซึ่งนอกจากชาวบ้านที่นั่นจะมีรายได้จากการเพาะเห็ดและการทำผลิตและสินค้าเกษตรแปรรูปแล้วรายได้อีกทางหนึ่งก็คือรายได้จากการท่องเที่ยววิถีชุมชนซึ่งเป็นเสมือนกำไรที่ได้จากต้นทุนของพวกเขานั่นเอง รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2562 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ชุมชนต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการขยะชุมชน ของจังหวัดอุดรธานี ชุมชนแสงทองเทศบาลเมืองหนองสำโรง พวกเขาเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมโดยการจัดการขยะอย่างถูกวิธี และเรียนรู้ที่จะเพิ่มมูลค่าของขยะ โดยให้แต่ละบ้านคัดแยกขยะและนำขยะมาขายในรูปแบบของการออมเงินซึ่งถึงว่าเป็นแนวคิคจัดการขยะ แรงจูงใจให้กับคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของตนเองได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีแนวคิดนำการส่งเสริมการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ยมูลไส้เดือน และน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ซึ่งสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

นโยบายการส่งเสริมให้เกษตรลดพื้นที่ปลูกยางพารา นโยบายการส่งเสริมให้เกษตรลดพื้นที่ปลูกยางพารา อย่างที่ท่านเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้อธิบายว่า จุดประสงค์ของการลดพื้นที่ปลูกยางพารา หลักๆนั้น ก็เพื่อต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะปลูกยางพารา เพราะนอกจากเกษตรกรจะได้จำนวนผลผลิตต่อไร่ที่ต่ำแล้ว ยังมีต้นทุนที่สูง ซึ่งไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนในระยะยาวเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลจึงสนับสนุนให้เกษตรกรสมัครใจที่จะเปลี่ยนพื้นที่ปลูกยางพาราไปทำเกษตรอย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยไม่ได้โค่นต้นยางทิ้งไปเฉยๆ แต่รัฐบาลจะสนับสนุนค่าตัดโค่นต้นยางให้กับเกษตรกร และยังร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่อบรมความความรู้ทางด้านอาชีพอื่นๆให้อีกด้วย โครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT  ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

ศูนย์การเรียนรู้การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ บ้านห้วยสำราญ จ.อุดรธานี รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT 

การขับเคลื่อนการผลิตข้าวอินทรีย์ให้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก รายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 21.00-22.00 น. ทาง ททบ.5 และ NBT  ขอขอบคุณ : บริษัท Woodbury Media Group

สวนผักปากช่องฟาร์ม มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับงานด้านการเกษตรในกระบวนการการผลิต จนสามารถเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมส่งเสริมการเกษตร จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร ให้เกษตรรุ่นใหม่มาเรียนรู้และศึกษาดูงานด้านการทำสวนผักปัจจุบัน สวนผักปากช่อง ฟาร์ม ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้เกษตร หรือ ศพก.ของกรมส่งสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกด้วย

การเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีสายพระเนตรที่กว้างไกล อยากให้มีอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน และบริโภคอาหารที่มีประโยชน์อย่างน้ำนมโค จึงทรงมีพระราชดำรินำอาชีพการเลี้ยงโดนมเข้ามาในเมืองไทยเป็นครั้งแรกและสนับสนุนให้เกษตรกร ไทยเลี้ยงโคนม ทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย เพื่อไม่ต้องถางไม้ทำลายป่า และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งซึ่งสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด จ.สกลนคร ได้มีแนวทางพัฒนาบริการจัดการ โคนมโดยน้อมนำศาสตร์พระราชา ว่าด้วยการร่วมกลุ่มเกษตรกรและจัดตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้นมาปัจจุบันนี้ มีสมาชิกกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนม 17คน ทางสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด ยังได้การรวบรวมน้ำนมดิบจากสมาชิกเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นมเพื่อจำหน่าย 2 ชนิด ได้แก่ นมพาสเจอร์ไรส์ และนมยูเอชที ซึ่งจะมีการจำหน่ายให้กับโรงเรียนเป็นหลัก เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรอีกช่องหนึ่ง การที่ผลิตภัณฑ์นมจะ ไดรับความเชื่อถือในด้านคุณภาพ จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์การแปรรูปทันสมัย เพื่อตรวจสอบและ ขนถ่ายสินได้โดยที่ผลิตภัณฑ์นมยังคงมีคุณภาพดี ซึ่งสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัดได้รับสนับสนุนอุปกรณ์ ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรกร จากโครงการไทยนิยม 3 รายการ ได้แก่ เครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพนม,รถห้องเย็นสำหรับขนส่งผลิตภัณฑ์ และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์พร้อมอุปกรณ์สำหรับโรงงานผลิตนม ทำให้เกษตรผู้เลี้ยงโคนมสามารถจำหน่ายผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้